ระดับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย , โรงพยาบาลมัญจาคีรีบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จำนวน 431 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาเป็นดังนี้ 1) การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม (ร้อยละ 77.49) อยู่ในระดับสูง 2) การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างด้านการจัดการอาหาร (ร้อยละ 64.3) อยู่ในระดับปานกลาง 3) การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างด้านการจัดการยา (ร้อยละ 89.8) อยู่ในระดับสูง 4) การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างด้านการจัดการความเครียด (ร้อยละ 83.3) อยู่ในระดับปานกลาง 5) การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างด้านการลดการตกค้างของพลังงาน (ร้อยละ 60.2) อยู่ในระดับปานกลาง 6) การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างด้านการติดตามการรักษา (ร้อยละ 94.7) อยู่ในระดับสูง
ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรเน้นย้ำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย โดยเฉพาะในด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการจัดการอาหาร ด้านการจัดการความเครียด และด้านการลดการตกค้างของพลังงาน โดยมีการพัฒนาเทคนิค นวัตกรรมในการให้ความรู้ มีแนวทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม
References
เกษฎาภรณ์ นาขะมิน, เสกสรร ผ่องแผ้ว, และวรนุช ไชยงาน. (2560). พฤติกรรมการการควบคุมระดับน้ำน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านธาตุ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพนวัตกรรมราชธานี, 1(2), 56-63.
งานเวชระเบียนโรงพยาบาลมัญจาคีรี. (2563). สถิติผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่น. โรงพยาบาลมัญจาคีรี.
จุฬาพร นาคพรหม. (2559). การดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ในเขตเทศตำบลแก้งคร้อ อำเภอ แก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิ. [การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย ผลิตนนท์เกีนรติ และนิลาวรรณ งามขำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสุขภาพบางปูใหม่ จังหวัด สมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(1), 103-117.
เพรียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม และประยูร โกวทย์. (2555). ปัจจัยที่มีความสำพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 11-20.
มนรดา แข็งแรง, นันทัชพร เนลสัน, สมจิตร การะสา และปิตินัฎ ราชภักดี. (2560). ความรู้ทัศนคติพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัด อุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติราชธานีวิชาการครั้งที่ 2. (หน้า 968-980). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
วรวรรณ คำหล้า, ยุวรัตน์ สุขยืน, ชลิตา เดือนฉาย และราตรี โพธิ์ระวัช. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4. (หน้า 1098 - 1105). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.(2560). หนังสือแนวทางเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน 2560. ร่มเย็นมีเดียจำกัด.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2563). เปลี่ยนวิกฤตเบาหวานด้วยพลังแห่งพยาบาล. สืบค้นจาก https://mgronline.com/uptodate/detail/9630000117210.
สุรีย์ ธรรมิกบวร, จารุวรรณ ชุปวา, นุชจมาน แก้วดี, สาวิตรี สิงสาด และไพลิน พิณทอง. (2558). การศึกษาการนําใช้ภูมิปัญญาเพื่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน. 1-3. สืบค้นจาก
http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/04022015.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2563). ผู้ป่วยเบาหวานเขต 7 จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นจาก https://kkhdc.moph.go.th/intro/
อ้อมใจ แต้เจริญวิริยกุล และกิตติยา ศิลาวงศ์ สุวรรณกูฎ. (2559). การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 9(2), 331-338.
อรทิพย์ แสนเมืองเคน, เบญจา มุกดาพันธ์, สมใจ ศรีหล้า และพิษณุ อุตตมะเวทิน (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หมู่บ้านอุดมทรัพย์ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(20), 227-236.
International Diabetes Federation [IDF]. (2015). Diabetes Atlas Seventh Edition. Retrieved from http://www.Idf.org/diabetes atlas.
Wayne W. D. (1995). Biostatistics. A Foundation of analysis in the health sciences. (6th ed). John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-20 (4)
- 2022-06-20 (3)
- 2022-05-06 (2)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น