ผลของการพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลสนามต่อการจัดการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรและผู้ป่วยโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ กาญจนวงค์ โรงพยาบาลบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรงพยาบาลสนาม, การจัดการด้านสุขภาพ, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

  การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบการจัดบริการโรงพยาบาลสนามต่อการจัดการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรและผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลบางกล่ำ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม และบุคลากรทางสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลบางกล่ำ     กลุ่มละ 45 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือระบบการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม แบบสอบถามการจัดการด้านสุขภาพ และแบบพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง .67-1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .91 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t-test และสถิติ Wilcoxon sign ranks test ผลการวิจัยพบว่า

   1. การจัดการด้านสุขภาพตามการรับรู้ของผู้ป่วยโควิด-19 และบุคลากรภายหลังการพัฒนาระบบการจัดบริการโรงพยาบาลสนามไม่แตกต่างกัน

   2. หลังการพัฒนาระบบการจัดบริการโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลบางกล่ำ การจัดการด้านสุขภาพตามการรับรู้ของบุคลากรทั้งภาพรวมและรายด้าน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

   3.  หลังการพัฒนาระบบการจัดบริการโรงพยาบาลสนาม ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าพักโรงพยาบาลสนามมีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสูงกว่าก่อนการเข้าโรงพยาบาลสนามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  ดังนั้น โรงพยาบาลบางกล่ำควรจัดระบบการจัดบริการโรงพยาบาลสนามให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าพักในโรงพยาบาลสนามอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการทำความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติตัวและการพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม

Author Biography

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Thailand Citation Index Centre

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. (2564ก). คำแนะนำในการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. (2564ข). แนวทางการแยกกักผู้ป่วย COVID-19 ในชุมชน (Community Isolation) ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม 2564. สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640724160026PM_community%20isolation_v2n%2024072021_.pdf

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. (2564ค). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง). สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640111082302AM_Field%20Hospital%20GL_V_5_08012021.pdf

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. (2564ง). แนวทางการดำเนินการหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) สำหรับผู้ป่วย COVID-19 มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคร่วมหรือมีโรคร่วมสำคัญที่ควบคุมได้ (ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม 2564). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/G_Invest_03_2.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย. (2563). แนวทางการจัดเตรียมพื้นที่กรณีมีการระบาดในวงกว้างของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) :โรงพยาบาลสนาม. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g06.pdf

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no637-011064.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศเรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. (2563, 29 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48ง. หน้า 1.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ในประเทศไทย วันที่ 9 กันยายน 2564. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92-103.

นภชา สิงห์วีรธรรม และนพมาส เครือสุวรรณ. (2563). ความจำเป็น กลุ่มเสี่ยง และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 7(3), 1-9.

นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, บรรจง เขื่อนแก้ว และ อนนต์ ละอองนวล. (2564). พฤติกรรมการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19) จากการปฏิบัติงานของนักรังสีการแพทย์. วารสารควบคุมโรค, 47(3), 467-478.

นภชา สิงห์วีรธรรม, นพมาส เครือสุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, สมเพิ่ม สุขสมบูรณ์วงศ์, นลินภัสร์ รตนวิบูลย์สุข. (2564). พฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรค และการจัดการด้านสุขภาพอนามัยในการกักตัวที่ศูนย์การฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ COVID-19 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(ฉบับเพิ่มเติม 1), s14-s24.

นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(3), 31-42.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564, 24 มิถุนายน). สธ.ลดนอน รพ.เหลือ 10 วัน ดันคนไข้กลับบ้าน เคลียร์เตียงรับวิกฤต. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/general/news-697189.

ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต ,กิตติพร เนาว์สุวรรณ์ และ นภชา สิงห์วีรธรรม. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 106-117.

รวิพร โรจนาอาชา, นภชา สิงห์วีรธรรม, ชวิกา วรรณโร และเมธา เกียรติโมฬี. (2564). แนวทางการกักกันผู้เดินทางมาจากท้องที่หรือนอกราชอาณาจักรที่มีความเสี่ยงในช่วงระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): รูปแบบโรงแรมสำหรับกักกันตนเอง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 8(1), 337-348.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2564). โควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย. สืบค้นจาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line.

โรงพยาบาลสมิติเวช. (2564). Home Isolation การกักตัวที่บ้านเมื่อต้องเผชิญกับโรคโควิด-19. สืบค้น จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/home-isolation.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Michigan: University of Michigan.

Would Health Organization. (2020a). WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard. Retrieved from https://covid19.who.int/

World Health Organization, (2020b). Considerations for quarantine of individuals in the context of containment for coronavirus disease (COVID-19) 19 March 2020. Retrieved from https://www.who.int/publications-detail/considerations-for-quarantine-of-individuals-in-the-context-of-containment-for-coronavirus-disease-(covid-19)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03