การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลและ การรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล, ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง , นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล
การรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลที่มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19 เป็น 3 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 99 คน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล และแบบวัดการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ
ครอนบาก เท่ากับ 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.01, SD = 0.49) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M = 4.11, SD = 0.43) 3) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลโดยภาพรวมจำแนกตามลักษณะการฝึกปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=7.723, p =.001) และ 4) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลโดยภาพรวมจำแนกตามลักษณะการฝึกปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=3.518, p=.034)
ข้อเสนอแนะสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล
References
กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปาริชาติ วงศ์ก้อม และจินตนา สุวิทวัส. (2564). การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 44(2), 72-85.
จุไร อภัยจิรรัตน์ และทัศนีย์ อรรถารส. (2555). ผลของวิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อยต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 5(1), 19-31.
ทิวาพร ฟูเฟื่อง. (2562). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 551-560.
นาฏอนงค์ สุวรรณจิตต์ และอารีย์ สุขก้องวารี. (2556). ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลในกรณีศึกษาต่อความรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(พิเศษ), 47-61.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
บุศรินทร์ ผิดวัง และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2556). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2), 74-84.
พรศิริ พันธศรี. (2563). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 24). พิมพ์อักษร.
มณี อาภานันทิกุล, รุจิเรศ ธนูรักษ์ และยุวดี ฦาชา. (2551). การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลไทยระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล, 23(2), 52-69.
มนสภรณ์ วิทูรเมธา, สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, มาลี เอี่ยมสำอาง และลัดดาวัลย์ เตชางกูร. (2559). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 100-113.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.
สราวุฒิ สีถาน และอติภัทร พรมสมบัติ. (2560). การส่งเสริมทักษะความคิดบูรณาการในการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสาร มฉก. วิชาการ, 21(4), 151-161.
อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 137-143.
อารี ชีวเกษมสุข. (2563). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุคความปกติใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 25-37.
Alfaro-LeFevre, R. (2014). Applying nursing process: The foundation for clinical reasoning. Lippincott Williams & Wilkins.
Knowles, M. (1975). Self-directed learning. Association Press.
Patterson, C., Crooks, D., & Lunyk-Child, O. (2002). A new perspective on competencies for self-directed learning. Journal of nursing education. 41(1). 25-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-19 (3)
- 2022-06-19 (2)
- 2022-06-19 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น