การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศรีไชย โพธิ์ศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • มัลลิกา มากรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

  การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและศึกษาผลจากการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและเครือข่ายในชุมชน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 50 คน ดำเนินการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกต

  ผลวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้มี 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นการวางแผน ประกอบด้วย  1) การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหา 2) การวิเคราะห์ SWOT ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และ 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม 2. ขั้นปฏิบัติการ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 3. ขั้นการสังเกตการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และ 4. ขั้นการสะท้อนผลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผลการดำเนินงาน พบว่า กระบวนการการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเป็นสิ่งที่ทำให้เครือข่ายเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายที่เป็นประโยชน์

  ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายในชุมชน อาทิ ผู้นำชุมชน อสม. ในเรื่องความเชี่ยวชาญในการเขียนโครงการเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงสาธารณสุข กองสุขศึกษา. (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข.

ขวัญดาว กล่ำรัตน์คีรี, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, ภัทรพล มหาขันธ์ และนวลฉวี ประเสริฐสุข. (2556 ). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(3), 93-104.

คณสนันท์ สงภักดิ์, นฤมล สินสุพรรณ และวีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม บ้านไชยสอ ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 17(2), 159 -178.

ทิพยาภา ดาหาร และ เจทสริยา ดาวราช. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 2(3), 42–54.

นาถวิทักษ์ มูลสาร. (2556). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

บุญมาก ไชยฤทธิ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระดับชุมชน ตำบลโป่งเปือย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

พนิดา เที่ยงสันเทียะ, สันติสิทธิ์ เขียวเขิน และบัณฑิต วรรณประพันธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยทีมหมอครอบครัวระดับชุมชน ตำบลโนนเมือง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร. 9, 24(1), 65 – 75.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ผุสดี ก่อเจดีย์, เกศแก้ว สอนดี และจันทร์พร โชคถวาย. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเครือข่ายสุขภาพชุมชนจังหวัดสระบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 33 – 41.

พันธิตรา สิงห์เขียว. (2558). พฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและความต้องการบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร,23 (3), 46 – 59.

ภรณี ตังสุรัตน์ และวิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางเมืองอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ, 20, 57-69.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วรัญญา นันตาแก้ว. (2561). สังคมผู้สูงอายุเมืองอุดรธานี. สืบค้นจาก http://thainews.prd.go.th

วัชรพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

สมเกียรติ สุทธรัตน์. (2561). การสร้างเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, (ฉบับการประชุมรอบรอบ 25 ปี), 215 -222.

สุขเกษม ร่วมสุข. (2553). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.

สำนักสถิติพยากรณ์. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1990). The action research planner (3rd ed.). Victoria: Deakin Universitypress.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion - Referenced test item validity. Dutch journal of education research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03