การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุและปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • รัชนี ผิวผ่อง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ณรงค์กร ชัยวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เพิ่มพูล บุญมี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เยี่ยม คงเรืองราช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • นงนุช หอมเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สุนิสา สอนวิชา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน , การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

   งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุและปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 และศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และ 3 จำนวน 57 คน ผู้สูงอายุและครอบครัว จำนวน 32 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 และอัตลักษณ์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีความเชื่อมั่น 0.96 และแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีความเชื่อมั่น 0.89 ดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการศึกษา พบว่า ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับมากที่สุด ในทุกด้าน โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยรวมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (M = 4.58, SD = 0.48) ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรมและความรับผิดชอบ (M = 4.53, SD = 0.38) และทักษะด้านปฏิบัติในใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ (M = 4.43, SD = 0.47) ความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของนักศึกษา ผู้ป่วยและครอบครัว และภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับมากที่สุด

     จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นในหลักสูตร และทำการศึกษาวิจัยโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบ และประเมินสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษา โดยประเมินจากเพื่อนหรืออาจารย์นิเทศร่วมด้วย

References

กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และสกาวรัจน์ ไกรจันทร์. (2558). รูปแบบการบูรณาการวิจัยกับการเรียนกกานสอนที่เน้นชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุของวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม : กรณีศึกษา ชุมชนสามัคคี ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 124-130.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/?cat=8

มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2558). โครงการถอดชุดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษาการ บูรณาการการจัดการเรียนรู้วิชาออกแบบสถาปัตยกรรมกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย (โครงการบ้านมั่นคง ชุมชนพระราม 9 บ่อ 3). วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 143-156.

มณฑา อุดมเลิศ, สืบตระกูล ตันตลานุกุล, เสาวลักษณ์ เนตรชัง, ไพทูรย์ มาผิว, ณัฎฐ์ฌาฑ์ สร้อยเพชร และนันทกาญจน์ ปักษี. (2561). ผลการสอนแบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยภูมิปัญญาไทยวิถีไทย วิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(2), 234-247.

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, สุรีย์ ธรรมิกบวร และสุรสม กฤษณะจูฑะ. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 14(1), 134-162.

ภูษณิศา มีนาเขตร และสิริทรัพย์ สีหะวงษ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการใช้ courseville ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(1), 74-87.

สง่า วงค์ไชย. (2561). การเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 12(2). 1131-1149.

สุภาณี เส็งศรี. (2554). การฝึกทักษะการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาโดยใช้กิจกรรมแบบพี่สอนน้อง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13(2), 129-137.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 17). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2557). นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/565909

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.

อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก และยศพล เหลืองโสมนภา. (2560). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 105-115.

Beers, S. (2011). 21st century skills: Preparing students for their future. Retrieved from http://www.yinghuaacademy.org/wpcontent/uploads/2014/10/21st_century_skills.pdf.

Bedri, Z., de Fréin, R., & Dowling, G. (2017). Community-based learning: A primer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1), 5.

Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (2013). The action research planner: Doing critical participatory action research (4th ed.). Springer Science & Business Media.

Miles, M B. & Huberman, A M. (1994). Qualitative data analysis : An expanded sourcebook (2nd ed.). Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-16