การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อุตม์ชญาน์ อินทเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • คมวัฒน์ รุ่งเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เส้นทางปัจจัย, คุณภาพชีวิต, บัณฑิตพยาบาล, วิทยาลัยพยาบาล, สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรอบแนวคิดที่ใช้ในการสร้างสมมติฐานแบบจำลองเส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาลมาจากการสังเคราะห์งานวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดระทรวงสาธารณสุข ที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2558-2560  จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) ความสามารถของร่างกาย 2) ความสามารถในการเรียนรู้และแก้ปัญหา  3) สัมพันธภาพทางสังคม  4) สิ่งสนับสนุนความมั่นคงในอาชีพ และ 5) คุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล ค่าความเชื่อมั่นใช้วิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)

  ผลการวิจัย พบว่า  ผลการวิเคราะห์เส้นทางตามแบบจำลองสมมติฐานเส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( X2=1.208, df = 1, X2/df = 1.208, p-value = 0.272, CFI =1.000, TLI = 0.999, RMSEA = 0.023, RMR = 0.055) โดยคุณภาพชีวิตบัณฑิตพยาบาล ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากด้านสิ่งสนับสนุนความมั่นคงในอาชีพ (gif.latex?\beta = 0.444, p-value < 0.01) รองลงมาคือ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (gif.latex?\beta = 0.409, p-value< 0.01) ด้านความสามารถในการเรียนรู้และแก้ปัญหา (gif.latex?\beta = 0.239, p-value < 0.01) และด้านความสามารถของร่างกาย (gif.latex?\beta = 0.138, p-value< 0.01) ตามลำดับ แบบจำลองเส้นทางปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาลได้ถึงร้อยละ 89 (R2 = 0.89, p-value < 0.01)

  ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสถานบริการสุขภาพที่บัณฑิตพยาบาลปฏิบัติงานประจำในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้บัณฑิตพยาบาลมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเพิ่มอัตราคงทนอยู่ในวิชาชีพพยาบาล เป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ

 

References

กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 456-468.

ขนิญร์นัสท์ อินทุลักษณ์ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). การสร้างสมดุลชีวิตกับงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (3), 382-389.

คมวัฒน์ รุ่งเรือง, อุตม์ชญาน์ อินทเรือง และศรินยา พลสิงห์ชาญ. (2563). คุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 4(1), 37-61.

จิรัชยา เจียวก๊ก. (2556). การคงอยู่ และความตั้งใจลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

ทรียาพรรณ สุภามณี, วิภาดา คุณาวิกติกุล และผ่องศรี เกียรติเลิศนภา. (2557). การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. พยาบาลสาร, 41(ฉบับพิเศษ), 48-58.

ธิดารัตน์ ศรีกันทา, ภูษิตา อินทรประสงค์, สุขุม เจียมตน และจรรยา ภัทรอาชาชัย (2556) คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(1), 57-64.

บุญช่วย ศิลาหม่อม, วรรณี เดียวอิศเรศ และอารีรัตน์ ขำอยู่. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 62-71.

บุรัสกร เตจ๊ะมา, สุคนธา คงศีล, สมชาติ โตรักษา และกิตติพงษ์ หาญเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล. วารสารสาธารสุขศาสตร์, 42(2), 82-91.

ประไพ ศรีแก้ว และดุษฎี เอกพจน์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการแพทย์ เขต 11, 8(1), 101-111.

ประเวศ วะสี. (2551, กรกฎาคม). สุขภาวะที่สมบูรณ์. หมอชาวบ้าน, 351, 1.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, ภราดร ยิ่งยวด, วินัย ไตรนาทถวัลย์ และเอกกมล ไชยโม. (2559). อิทธิพลของสมดุลชีวิตกับการทำงานและความพึงพอใจในงานต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพไทย. สืบค้นจาก http://www.tcijthai.com/news/2020/4/current/1044

ปริญญา แร่ทอง และธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2555). ประสบการณ์การเปลี่ยนบทบาทจากนักศึกษาพยาบาล สู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 51-62.

ปุณยนุช พิมใจใส, มัณฑนา เทวาโภคิณกุล และรุ่งอรุณ พุ่มเจริญ. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 254-263.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ และอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์การในโรงพยาบาลทั่วไป. พยาบาลสาร, 41(4), 58-69.

ลักขณา ศิรถิรกุล, บุญพิชชา จิตตภักดี และจารุวรรณ สนองญาติ. (2564). องคกรแห่งความสุข : คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(1), 182-192.

วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษดา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 5-12.

ศศิพิมพ์ คำกรฤาชา และสุลี ทองวิเชียร (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น, 8(2), 192-201.

สภาการพยาบาล. (2555). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559). นนทบุรี: สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข

สมจิต แดนสีแก้ว, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, นฤมล สิงห์ดง และปิยนุช บุญกอง. (2560). บริบทการทำงานของพยาบาลไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 35(2), 216-226.

สุพรรณี พุ่มแฟง และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2558). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารเกื้อการุณย์, 22(2), 140-153.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององคการอนามยโลก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

แสงเทียน ธรรมลิขิตกุล และสิริรัก สินอุดมผล. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 55-75.

อุลัยวรรณ พงศ์ณภัทรสกุล. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Maslow, A. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Row Publishers.

Rogers, A. E. (2008). The effects of fatigue and sleepiness on nurse performance and Patient Safety. In Hughes, R. G. (Ed.), Patient safety and quality: An evidence-based handbook for nurses (pp 509-545). Rockville: Agency for Healthcare Research and Quality.

Schumacker, R., & Lomax, R. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

World Health Organization. (1997). WHOQOL Measuring of Quality of Life. Switzerland, Geneva : Author.

World Health Organization. (2016). Global strategy on human resources for health: Workforce 2030. Switzerland, Geneva : Author.

Yildirim D., & Aycan, Z. (2008). Nurses’ work demands and work-family conflict: a questionnaire survey. International Journal of Nursing Studies, 45(9), 1366-1378.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03