การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูงในการเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ชุดเจือจีน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข;
  • สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข;
  • สุพัตรา หน่ายสังขาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข;

คำสำคัญ:

สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูง, พยาบาลศาสตรศึกษา

บทคัดย่อ

  การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูง เป็นการจำลองสถานการณ์ที่มีความเหมือนกับสถานการณ์จริงมาให้ผู้เรียนได้ฝึก โดยมีหุ่นจำลองและโปรแกรมควบคุมมาช่วยในการสร้างสถานการณ์ ปัจจุบันมีการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์มากขึ้น เนื่องจากการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูง จะช่วยพัฒนาทักษะการปฏิบัติการพยาบาลและทักษะการตัดสินใจแก้ปัญหาในคลินิก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงและนำเสนอประสบการณ์ของผู้เขียนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูงมี  3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วย การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ การออกแบบสถานการณ์จำลอง การออกแบบวิธีการประเมินผล การเตรียมสถานการณ์จำลอง การเตรียมผู้สอน การเตรียมผู้เรียน 2) ขั้นปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง ประกอบด้วย การให้คำแนะนำก่อนฝึกในสถานการณ์จำลอง การฝึกในสถานการณ์จำลองและการสรุปผลการเรียนรู้ และ 3) ขั้นประเมินผล ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองโดยประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่ได้แสดงในสถานการณ์จำลอง ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะช่วยตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหรือไม่และใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้ ผู้สอนที่สนใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงสูงควรศึกษาทำความเข้าในแนวคิด ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ชนิดา ธนสารสุธี, ละมัด เลิศล้ำ และสุภาเพ็ญ ปานะวัฒนวิสุทธิ์.(2562). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2), 55-70.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณและสุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 113-127.

สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล, ศิริพร ชุดเจือจีน และเขมจิรา ท้าวน้อย. (2563). ผลการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติงานต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 70-81.

สืบตระกูล ตันตลานุกูล, สุวัฒน์ รัตนศักดิ์, ชมพูนุช แสงพานิช, วิภาวรรณ สีสังข์ และฐิติอาภา ตั้งวานิช. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(1), 49-58.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิรดา อรรถเมธากุล และดวงแข พิทักษ์สิน (2561). ผลของการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย อย่างมีแบบแผนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 147-163.

อนันตพร นทรักษ์, ธัชจารีย์ พันธุ์ชาลี, วุฒินันท์ อัจฉริยะโพธา, วิทยา ถิฐาพันธุ์, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ และพีรพงศ์ อินศร. (2563). การพัฒนาความสามารถทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมโดยการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์จำลอง. เวชบันทึกศิริราช, 13(2), 106-112.

Chiniara, G., Cole, G., Brisbin, K., Huffman, D., Cragg, B., Lamacchia, M., Norman, D., & Canadian Network For Simulation In Healthcare, Guidelines Working Group. (2013). Simulation in healthcare: a taxonomy and a conceptual framework for instructional design and media selection. Medical teacher, 35(8), e1380–e1395. https://doi.org/10.3109/0142159X.2012.733451

Damewood, A. M. (2016). Current trends in higher education technology: Simulation. Tech Trends, 60(3), 268-271.

Dennick, R. (2016). Constructivism: reflections on twenty five years teaching the constructivist approach in medical education. International Journal of Medical Education, 7, 200-210.

Dove Ward, G., Robinson, L., & Jowers Ware, L. (2017). The Lived Experience of Nursing Students Participating in High-Fidelity Simulation at a School Grounded in Caring. International Journal for Human Caring, 21(4), 200–207. https://doi.org/10.20467/HumanCaring-D-17-00027

Jefferies, P. R. (2005). A framework for designing, implementing, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing education perspectives, 26(2), 96-103.

Joyce, B. R., Weil, M., & Showers, B. (2010). The effects of cooperative learning experience on eighth grade students’s achievement and attitude toward science. Education 2010, 131(1), 169-180.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs. NJ: Prentice-Hall Inc.

O’Donnell, J. M., Decker, S., Howard, V., Levett-Jones, T., & Miller, C. W. (2014). NLN/Jeffries simulation framework state of science project: Simulation learning outcomes. Clinical Simulation in Nursing, 10(7), 373-382.

Tuoriniemi, P., & Schott-Baer, D. (2008). Implementing a high-fidelity simulation program in a community college setting. Nursing education perspectives, 29(2), 105-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09