ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ วงจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุวรรณา วุฒิรณฤทธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ลัดดา เหลืองรัตนมาศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ, การส่งเสริมคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

      การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 437 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุฉบับย่อภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบของฟิชเชอร์

          ผลวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 96.38  (M = 6.38, SD = 15.85) โดยมีปัจจัยด้านความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน ปัจจัยด้านประกันสุขภาพ  มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ปัจจัยด้านผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.013) ปัจจัยด้านการดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.019) และปัจจัยเพศ สถานภาพสมรส สูบบุหรี่ และประวัติการหกล้ม ไม่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

          ดังนั้นควรมีการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน

 

References

โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ ม มร, 6(1), 162-175.

จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์ และจักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 27-32.

เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.

ฐาปกรณ์ เรือนใจ และสุคนธา ศิริ. (2559). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่ออกกำลังกายของ ผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร, 37(1). 1-8.

ตะวัน วาทกิจ และลัดดา ปินตา. (2561). การศึกษาปัจจัยที่สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 6(2), 111-124.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 64-70.

นงพิมล นิมิตอานันท์, วิชุดา กลิ่นหอม, เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ และชลทิพย์ ทิพย์แก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 389-399.

ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล และสอาด มุ่งสิน. (2561). คุณภาพชีวิตภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตเมืองอุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-151.

ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. [งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา]. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา. https://webopac.lib.buu.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00226361

พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2560) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี. [การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:139570

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 94-109.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด 999.

ยุภา โพผา, สุวิมล แสนเวียงจันทร์ และทัศนีย์ พฤกษาชีวะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาปัจจัยเชิงลึกบ้านคลองโยง หมู่ที่ 1. วารสารพยาบาลทหารบก, 18 (ฉบับพิเศษ), 266-275.

วาสนา สิทธิกัน, สายหยุด มูลเพ็ชร์ และสามารถ ใจเตี้ย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ลำปางเวชสาร, 38(2), 49-58.

สุกัญญา ปวงนิยม, นงณภัทร รุ่งเนย และอุไรรัชต์ บุญแท้. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(3). 178-195.

สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ และวิจิตร แผ่นทอง. (2563). ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 104-120.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2557). แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). ข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาล. สำนักการพยาบาล.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.

เสาวนีย์ ระพีพรกุล. (2560). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบึงคำพร้อยหมู่ 11 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 9(1), 153-165.

เสมอ จัดพล. (2556). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่แห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 6(3), 510-519.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ 20 ปี เขตสุขภาพที่ 6 พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://region6.cbo.moph.go.th/r6/all_maping.php.

อภินันท์ สนน้อย, ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ และสุรชัย ปิยานุกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 172-188.

อภิรดี โชนิรัตน์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล และศริยามน ติรพัฒน์. (2020). ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 95-110.

Atri, S. B., Pakpour, V., Khalili, A. F., Jafarabadi, M. A., & Kharajo, Z. N. (2020). Social capital and its predictive role in quality of life among the elderly referring to health centers in Tabriz, Iran: A community-based study. Journal of Caring Sciences, 9(4), 212.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Applications in communities. Health Program Planning. An educational and ecological approach (4th ed.). McGraw-Hill.

Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J. (2012). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence. Elsevier Health Sciences.

Rondón García, L. M., & Ramírez Navarrro, J. M. (2018). The impact of quality of life on the health of older people from a multidimensional perspective. Journal of aging research, 2018, 4086294. https://doi.org/10.1155/2018/4086294

Witkiewitz, K., Kranzler, H. R., Hallgren, K. A., O'Malley, S. S., Falk, D. E., Litten, R. Z., Hasin, D. S., Mann, K. F., & Anton, R. F. (2018). Drinking risk level reductions associated with improvements in physical health and quality of life among individuals with alcohol use disorder. Alcoholism, clinical and experimental research, 42(12), 2453–2465. https://doi.org/10.1111/acer.13897

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-16