ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พยงค์ เทพอักษร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, บัณฑิตศึกษา, สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ศิษย์เก่า บุคลากรสาธารณสุข และบุคคลที่สนใจ จำนวน 283 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis   ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 283 คน ส่วนใหญ่มีความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทถึงร้อยละ 88.70 ถ้าวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จะเปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ในปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สนใจสมัครเรียนร้อยละ 81.30 สาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อส่วนใหญ่ คือ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ร้อยละ 36.09 รองลงมา คือสาขาบริหารสาธารณสุข ร้อยละ 33.04 ส่วนใหญ่ต้องการศึกษานอกเวลาราชการ (เสาร์-อาทิตย์) ร้อยละ 91.74 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบออนไลน์ การสอนในชั้นเรียน และแบบสะสมหน่วยกิตในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ร้อยละ 35.22, 33.04 และ 31.74 ตามลำดับ แหล่งเงินที่ใช้ในการเรียนส่วนใหญ่ใช้ทุนตนเองถึงร้อยละ 91.30 ส่วนเหตุผลของการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาคือต้องการความก้าวหน้า ต้องการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ต้องการเพิ่มคุณวุฒิ ต้องการการยอมรับจากสังคมหรือเกียรติยศชื่อเสียง และต้องการความมั่นคงในอาชีพ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ควรเร่งจัดทำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรสุขภาพในการพัฒนาศักยภาพโดยจัดให้มีการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาต่อไป

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง, นพรัตน์ ส่งเสริม, อรอนงค์ บุรีเลิศ และเนตรทราย ทองคำ. (2560). ความต้องการศึกษาต่อและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 86-94.

ตวงพร รุ่งเรืองศรี. (2561). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(1), 106-138.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. (2563). คู่มืออาจารย์ ปีการศึกษา 2563. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.

พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (2562, 5 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน 43 ก. หน้า 40-65.

สุพัฒน์ อาสนะ, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สุทิน ชนะบุญ, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, เจตนิพิฐ สมมาตย์, วิชุตา แสงเพชร์, และกุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ (2562). ความต้องการศึกษาต่อปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 233-239.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างเศรษฐกิจและแผนพัฒนาสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2579). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2560). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก 2560–2564. นนทบุรี: กองนโยบายและยุทธศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพ สถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-02