ปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในชนบทที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • สุพิตรา เศลวัตนะกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ความผาสุกทางใจ, ผู้สูงอายุในชนบท, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive Correlational Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในชนบทที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มี อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในเขตชนบท จำนวน 90 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความผาสุกทางใจ แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบวัดปัจจัยเกื้อหนุนทางสังคม แบบวัดภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก ได้เท่ากับ 0.83, 0.81, ,0.89 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเกื้อหนุนทางสังคม เป็นตัวแปรที่ร่วมทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชนบท เป็นอันดับแรก (β = 0.550, p< 0.001) รองลงมาคือ ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (β = 0.334, p< 0.001) สรุปได้ว่า ปัจจัยเกื้อหนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถร่วมกันทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชนบทได้ร้อยละ 32.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = 0.326, p< 0.001)

จากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพ ควรตระหนักถึงปัจจัยเกื้อหนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตชนบทอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม และเยาวลักษณ์ ยิ้มเยือน. (2559). ความสัมพันธ์และอํานาจในการทํานายของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(1), 1-13.

กัตติกา ธนะขว้าง, วันทนา ถิ่นกาญจน์ และรวมพร คงกำเนิด (2558). การวิจัยภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานในประเทศไทย. นครราชสีมา : สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวานิสย์.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ Aging Society (Complete Aged): The elderly condition of good quality. วารสารกึ่งวิชาการ, 38 (1), 1-27.

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และนารีรัตน์ บุญเนตร. (2563). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์์และวิทยาการสุขภาพ, 15(2), 116-123.

ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power Retrieve on march, 2020. สืบค้นจาก http://advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2561/HEALTH 41_2/HEALTH_Vol 41 No 2 _02.pdf.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2559). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก,15(3), 24-38.

ฤดีมาศ พุทธมาตย์, โรจนี จินตนาวัฒน์ และลินจง โปธิบาล. (2563). การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารสภาการพยาบาล, 35(1), 61-74.

ยุพา ทองสุข, ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 95-110.

สมหญิง ฤทธิ์ลือไกร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. เอกสารการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่10 ประจำปีการศึกษา 2559. สืบค้นจาก http://nursemis.rtu.ac.th/file_re/MgkGyoTTue64618.pdf

สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ผการัตน์ ฤทธิ์ศรีบุญ, มธุรพร ภาคพรต และพฤกษา บุกบุญ. (2559). บทเรียนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอเพื่อระบบสุขภาพชุมชน. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, รัตนาภรณ์ อาษา และกฤติเดช มิ่งไม้. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(3), 1-11.

ออมสิน ศิลสังวรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Collins, A. L., Glei, D. A., & Goldman, N. (2009). The role of life satisfaction and depressive symptoms in all-cause mortality. Psychology and Aging, 24(3), 696–702.

Faul F. G*Power version 3.1.9.2 (2014). Retrieved from

https://www.poycho.uni-duessldorf.de/abteilungen/aap/gpower3/

Ingersoll-Dayton, B., Saengtienchai, C., Kespichayawattana, J., & Aungsuroch, Y. (2004). Meassuring Psychological well-Being: Insights from Thai Elders. The Gerontologist, 44(5), 596-604.

Krause, N., & Markides, K. S. (1990). Measuring social support among older adults. The International Journal of Aging & Human Development, 30(1), 37–53.

Thanakwang, K. (2008). Social Networks and Social Support Influencing Health- Promoting Behaviors among Thai Community-Dwelling Elderly. Thai Journal of Nursing Research, 12(4), 243-258.

Wongpakaran, N., Wongpakaran, T., & Reekum, R. V. (2013). The use of GDS-15 in detecting MDD: A comparison between residents in a Thai long-term care home and geriatric outpatients. Journal of Clinical Medicine Research, 5(2), 101–111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28