ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการเสริมแรงตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ต่อพฤติกรรมการป้องกันท้องผูก และการเกิดท้องผูก ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • จีราภา ศรีท่าไฮ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จันจิรา หินขาว วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการเสริมแรงตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ, พฤติกรรมการป้องกันท้องผูก, การเกิดท้องผูก, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการเสริมแรงตามทฤษฎี การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ต่อพฤติกรรมการป้องกันท้องผูก และการเกิดท้องผูกในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดเกาะขวาง (สังวาลย์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดจันทบุรี จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัยคือแบบประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันท้องผูก พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และแบบประเมินประเมินอาการท้องผูกตามเกณฑ์ ROME IV วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบทีคู่

  ผลการศึกษาพบว่าหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันท้องผูกสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอัตราการเกิดท้องผูกต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการเสริมแรงตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีพฤติกรรมการป้องกันท้องผูกที่ดีขึ้นและลดการเกิดท้องผูก ดังนั้นโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเพื่อช่วยส่งเสริมการป้องกันท้องผูกได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณืการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จินตนา แสงงาม, วัลยาธรรม พนิชวัฒน์, มงคล เลาหเพ็ญแสง และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2558). ผลของโปรแกรมการสอนเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกของผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดแก้ไขภาวะผิดรูปของทวารหนักและลำไส้ตรง หรือโรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด. วารสารสภาการพยาบาล, 30(1), 86-98.

พิชญา สวนช่วย.(2560). ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(1), 222-231.

พรรณพัชร พิริยะนนท์, ศุกระวรรณ อินทรขาว, และอภิญญา ยวงทอง.(2561). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะท้องผูกในเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร,18(2), 202-209.

สถิติสรุปการตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปีการศึกษา. (2562). สถิติสรุปการตรวจสุขภาพนักเรียน 2562. จันทบุรี: โรงเรียนวัดเกาะขวาง (สังวาลย์ราษฎร์รังสรรค์) จังหวัดจันทบุรี.

สุพร ตรีพงษ์กรุณา. (2557). เด็กท้องผูกแก้ไม่ยาก. สืบค้นจาก https://www.thairath. co.th/content/449182

อริสรา อัครพิสิฐ. (2558). ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการทำการบ้าน ด้วยการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) ในรายวิชา 135-301 ภาษาอังกฤษทางธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

Jeffrey, S. H., Carlo, D. L., Miguel, S., Robert, J. S., Annamaria, S., & Miranda, T. (2016). Childhood Functional Gastrointestinal Disorders: Child/ Adolescent. Gastroenterology, 150(6), 1456–1468

Levy, E. I., Lemmens, R., Vandenplas, Y., & Devreker, T. (2017). Functional constipation in children: challenges and solutions. Pediatric health, medicine and therapeutics, 8, 19–27. https://doi.org/10.2147/PHMT.S110940

Skinner, B. F. (1938). The Behavior of Organisms: An Experimental Analysis. New York: Appleton- Century.

Skinner, B. F. (1948). Superstition' in the pigeon. Journal of Experimental Psychology, 38,168-172.

Tanjung, F. A., Supriatmo, S., Sinuhaji, A. B., & Hakimi, H. (2013). Functional constipation and posture in defecation. Paediatrica Indonesiana, 53(2), 104-107.

Wald, A. (2002). Slow transit constipation. Current treatment options in gastroenterology, 5(4), 279-283.

Woolery, M., Carroll, E., Fenn, E., Wieland, H., Jarosinski, P., Corey, B., & Wallen, G. R. (2006). A constipation assessment scale for use in pediatric oncology. Journal of Pediatric Oncology Nursing, 23(2), 65-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-02