การทบทวนขอบเขตงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิรงค์รอง ชมภูมื่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • สุภาวดี นพรุจจินดา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • ทิวา มหาพรหม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

นักศึกษาพยาบาล, การบริหารเวลา, การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตรายละเอียด

บทคัดย่อ

การบริหารเวลาที่ดี เป็นทักษะที่จำเป็นและมีความสำคัญในการช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเวลา มีคุณภาพชีวิตที่มีความสมดุล โดยเฉพาะในนักศึกษาพยาบาลที่ต้องบริหารจัดการเวลาในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงต้องมีเวลาในการพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วย การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตรายละเอียดในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนขอบเขตรายละเอียดที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาลในประเทศไทย โดยใช้กระบวนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบแบบมีขอบเขต (scoping review) ผลการทบทวนวรรณกรรม พบว่า งานวิจัยทั้งหมดเป็นวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) (ร้อยละ 100) โดยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับระดับความสามารถในการบริหารเวลา และเปรียบเทียบ ปัจจัยส่วนบุคคล ต่อความสามารถในการบริหารเวลา ซึ่งพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ ระดับชั้นปี และความเครียด การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า จำนวนงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นควรใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปสู่การศึกษาในนักศึกษาพยาบาลกลุ่มอื่น และศึกษาปัจจัยเพิ่มเติมในเชิงลึก เพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาลไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กิตติมาพร โลกาวิทย์. (2554). ความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 3(1), 27-36.

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, มัชฌิมา ดำมี, จันทร์จิรา นิ่มสุวรรณ, ชุติมา หมัดอะดัม, ศุภารัตน์ ละเอียดการ และสุชาวดี โสภณ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียดและความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 36-50.

ชวนนท์ จันทร์สุข, นฤมล จันทร์สุข และนิจวรรณ วีรวัฒโนดม. ความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. (2560). การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม, ประเทศไทย. (หน้า 2911-2917).

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, นฤมล จันทรเกษม. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 357-369.

นวรัตน์ ไวชมภู, อัจฉรา มุสิกวัณณ์ และสุนีย์ เครานวล. (2562). ความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 296-306.

วิไลพร ขำวงษ์ ,สุดคนึง ปลั่งพงษ์พันธ์ และทานตะวัน แย้มบุญเรือง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 78-87.

วิรงค์รอง ชมภูมิ่ง. (2562). ความสามารถในการบริหารเวลาของนักศึกษาพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 199-211.

สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2553). การบริหารเวลา. กรุงเทพฯ : สถาบัน.

สุจิตรา อู่รัตนมณี, สุภาวดี เลิศสาราญ, เจนจิรา วงษ์ศรีนาค, กาญจนาพร สะอิ้งทอง และอนุสสรา ระวัง. (2559). ความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติด้าน “การวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. (หน้า 573-579).

Arksey, H. & O’Malley, L. (2005). Scoping Studies: Towards a Methodological Framework. Int. J. Social Research Methodology. 8(1), 19-32.

Moher D., Liberati A., Tetzlaff J., Altman D. G., The PRISMA Group. (2009). Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analyses: The PRISMA Statement. PLoS. Med. 6: e1000097.

Page, M. J., McKenzie, J., Bossuyt, P., Boutron, I., Hoffmann, T., Mulrow, C. D. et al. (2021, February 14). The PRISMA 2020 statement: an updated guideline for reporting systematic reviews. Retrieved from https://doi.org/10.31222/osf.io/v7gm2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28