ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรพิมล ดีรุณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เยาวลักษณ์ แกล้วกล้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุริยา ฟองเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์, ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ ลักษณะสร้างสรรค์ และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ทำการศึกษาในประชากรทั้งหมด 86 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กันยายน พ.ศ. 2563  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การ ลักษณะสร้างสรรค์ แบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93, .94 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

  ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมองค์การ ลักษณะสร้างสรรค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.21, SD = .52) ค่าเฉลี่ยความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.90, SD = .68) และค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.98, SD = .54)  2) วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .675, p<.001) และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับคุณภาพชีวิตการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .736, p <.001)

  ดังนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์การ ลักษณะสร้างสรรค์มีผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของบุคลากร มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี และมีความคงอยู่ในองค์กรจนถึงวันเกษียณอายุราชการ

References

กรรณิการ์ โพธิ์ลังกา และสุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ. (2557). การศึกษาลักษณะส่วนบุคคล วัฒนธรรมองค์กรลักษณะสร้างสรรค์ และสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในย่านธุรกิจอโศก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9(2), 135-158.

เฉลิมขวัญ เมฆสุข และประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สยามฟิตติ้งส์ จำกัด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 33-50.

ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, กลีบแก้ว จันทร์หงษ์ และปรัศนี สมิธ. (2555). การเสริมสร้างความสุขในการทำงานเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2), 11-23.

ปริยา มาตาพิทักษ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะเชิงวิชาชีพและวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์).มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช, อัยรดา พรเจริญ, นลินี ทองประเสริฐ, กิตติมา จึงสุวดี, ประนอม คำผา และอโณทัย หาระสาร. (2563). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานห้องจัดแสดงรถยนต์และศูนย์บริการรถยนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารนักบริหาร, 40(2), 81-94.

Chang, H. P., Hsieh, C. M., Lan, M. Y., & Chen, H. S. (2019). Examining the moderating effects of work-life balance between human resource practices and intention to stay. Sustainability, 11(17), 1-15.

Cook, R. A., & Lafferty, L. J. (1989). Organization culture inventory. Plymouth, MI: Human Syner-gistics.

Kodikal, R., & Rahman, H. U. (2016). Influence of quality of work life on organizational commitment amongst employees in manufacturing sector. International Journal in Multidisciplinary and Academic Research, 5(5), 1-30.

Meyer, J. P., Allen, N. J., & Smith, C. A. (1993). Commitment to organizations and occupations: Extension and test of a three - component conceptualization. Journal of Applied Psychology, 78, 538-551.

Sahni, J. (2019). Role of quality of work life in determining employee engagement and organizational commitment in telecom industry. International Journal for Quality Research, 13(2), 285-300.

Walton, R. E. (1974). Improving the Quality of Work Life. Harvard Business review, 4(7), 12 – 14.

Suyantiningsih, T., Haryono, S., & Zami, A. (2018). Effects of quality of work life (QWL) and organizational citizenship behavior (OCB) on job performance among community health centre paramedics in Bekasi city, Indonesia. Journal of Economics and Sustainable Development, 9(6), 54-65.

Yusoff, Y. M., Rimi, N. N., & Meng, C. H. (2015). A study of quality of work life, organizational commitment and turnover intention. Problems and Perspectives in Management, 13(2), 357-364.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-02