การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา กาบมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ปานเพชร สกุลคู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

   

การวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี จำนวน 286 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิและคำนวณหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาก ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj.) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95%

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 ได้แก่ 1) รายได้  2) การมีโรคประจำตัว3) ด้านสุขภาพร่างกาย 4) ด้านสุขภาพจิต 5) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ประกอบด้วย 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรกำหนดมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) ส่งเสริมให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมีความยั่งยืน

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553) แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545- 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). นโยบายรัฐด้านผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/laws/1/33

จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์ และจักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 27-32.

เจริญชัย หมื่นห่อ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม. การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่องกำลังด้านด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 2-4 มิถุนายน 2553.

เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.

ธาริน สุขอนันต์, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนท์ และปิยรัตน์ จิตรภักดี. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 240-249.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 64-70.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มิเดีย.

ปรียาภรณ์ ตั้งเพียร. (2551). การสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 19(2), 55-64.

มาสริน ศุกลปักษ์ และกรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2560). องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11 (ฉบับพิเศษ), 53-63.

วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานวรปัญญา และจิดาภา ศิริปัญญา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สุงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32-40.

วาสนา เล่าตง. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทย. สืบค้นจาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Index.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำรวจประชากรผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N10-07-61.aspx.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, และราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุทัย สุดสุข, พิทยา จารุพูนผล, ประยูร ฟองสถิตย์กุล, จรัล เกวลินสฤษดิ์, สัมฤทธิ์ จันทราช และจรรยา เสียงเสนาะ. (2552). รายงานการวิจัย โครงการศึกษาสถานการณ์ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

World Health Organization. (2011). Definition of an older or elderly person. Retrieved from http://www.who.int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21