การประเมินสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 1 หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลโรคหลอดเลือดสมอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, สมรรถนะการพยาบาล, หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางบทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลโดยวิธีการวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านการพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองของผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลโรคหลอดเลือดสมอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562 โดยข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากผู้สำเร็จการศึกษา 19 คน ผู้บังคับบัญชา จำนวน 5 คน และผู้ร่วมงานของผู้สำเร็จการศึกษา 10 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 8 ด้านอยู่ในระดับดีมาก 2) มุมมองที่มีต่อสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้สำเร็จการศึกษาโดยพบว่า ในด้านพฤติกรรมการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้สำเร็จการอบรมมีความมั่นใจ มีความรู้ความเข้าใจพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง และมีความใส่ใจต่อผู้ป่วย ในด้านความพึงพอใจต่อสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การเสาะแสวงหาความรู้และการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และในด้านการนำใช้ความรู้เกี่ยวกับการให้ยา การให้กายภาพบำบัด และการอธิบายพยาธิสภาพและการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดการอบรมโดยมุ่งเน้นสมรรถนะเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีสมรรถนะสูงสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สุขภาพที่ดีของผู้ป่วย
References
จินตนา จักรปิง. (2552). ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแล โรงพยาบาลน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
นลินี พสุคันธภัค และสุวรรณา วิภาคสงเคราะห์. (2557). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารกองการพยาบาล, 41(1), 74-87.
วสนันทน์ แสนใจงามวรภัทร์. (2555). ระดับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขต4. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล). มหาวิทยาลัยคริสเตียน. นครปฐม.
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และศรัณยา โมสิตะมงคล. (2560). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: สมรรถนะของพยาบาล. ใน มนันชยา กองเมืองปัก, กรุณา ชูกิจ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และศรัณยา โมสิตะมงคล. การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศทางการพยาบาล (หน้า 3-16). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถิติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556: Public Health statistic A.D. 2013. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สภาการพยาบาล. (2552). คู่มือการจัดทำหลักสูตรพยาบาลเฉพาะทาง. นนทบุรี: สภาการพยาบาล.
สุจารี บัวเจียม และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2557). สมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(3), 121-133.
World Health Organization. (2015). World Stroke Campaign. Retrieved from http://www.world-stroke.org/advocacy/world-stroke-campaign.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น