ภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดวัยรุ่นไทยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
มารดาหลังคลอดวัยรุ่น, ภาวะสุขภาพด้านร่างกาย, ภาวะสุขภาพด้านจิตใจบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพในมารดาหลังคลอดวัยรุ่นไทยที่มาตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ โรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดา หลังคลอดวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 165 คน เลือกแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึง สิงหาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และโรคประจำตัว และแบบสอบถามภาวะสุขภาพมารดาหลังคลอดวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ และวิเคราะห์ภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดวัยรุ่นโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า มารดาหลังคลอดวัยรุ่นส่วนมาก (ร้อยละ 77.60) มีอายุอยู่ระหว่าง 17-19 ปี ได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 64.2) ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ (ร้อยละ 59.4) และไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 92.10) ภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดวัยรุ่นโดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 109.36, SD = 13.34) โดยภาวะสุขภาพด้านร่างกายและภาวะสุขภาพด้านจิตใจอยู่ในระดับดี (M = 54.67, SD = 6.85; M = 53.26, SD = 7.60) จากผลการวิจัยบุคลากรด้านสุขภาพสามารถวางแผนการดูแลเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนมารดาหลังคลอดวัยรุ่น ให้มีภาวะสุขภาพด้านร่างกายและด้านจิตใจที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2561). สถานการณ์การตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น. สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=14&file name=index
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2562). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2562. สืบค้นจากhttp://rh.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=25& filename=index
ขนิษฐา เมฆกมล และอารีรัตน์ วิเชียรประภา. (2561). บทบาทพยาบาลในการดูแลมารดาวัยรุ่น. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(2), 69-77.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าใจ เข้าถึง และการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
ญาดา พันธ์แตง, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, จรวยพร สุภาพ และ วิริณธิ์ กิตติพิชัย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 เดือน ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(2), 128-140.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด.
ปิยะมาพร เลาหตีรานนท์, สุมัทนา กลางคาร และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อยจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(4), 73-82.
พรรณี พิณตานนท์, ดรุณี ทองคําฟู, ชนานันท์ ปัญญาศิลป์ และ สุรัสวดี เวียงสุวรรณ. (2558). การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น: ONE STOP SERVICE โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 5(1), 75-88.
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พุทธศักราช 2559. (2559, 30 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-9.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). ต้นทุนชีวิตกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(1), 13-23.
ศศินันท์ พันธ์สุวรรณ, พัชรินทร์ สังวาล, อิชยา มอญแสง และพัชรินทร์ ไชยบาล. (2556). ประสบการณ์หลังตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไม่ได้แต่งงานในภาคเหนือตอนบน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 33(3), 17-35.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และนิลุบล รุจิรประเสริฐ. (2559). บทเรียนจากการพัฒนาบริการสายด่วนช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 31(3), 5-15.
ศิริรัตน์ ภู่เกตุ, สุชาติ แสงทอง และสุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 11(2), 190-200.
ส่งศรี เมืองทอง, ทัศนีย์ นิลสูงเนิน และรัตนา ชื่นภักดี. (2559). ผลของระบบการให้การช่วยเหลือมารดาวัยเยาว์และการติดตามในรูปแบบสหวิชาชีพ. เวชบันทึกศิริราช, 9(3),148-154.
แสงจันทร์ สุนันต๊ะ, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2559). ผลของการให้ความรู้และการสนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยายต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา. วารสารพยาบาลทหารบก, 9(3),148-154.
องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อ้อมใจ พลกายา และพัทธวรรณ ชูเลิศ. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัวต่อทัศนคติและบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 131-142.
Desocio, J., Holland, M., Kitzman, H. & Cole, R. E. (2013). The influence of social-developmental context and nurse visitation intervention on self-agency change in unmarried adolescent mothers. Research in Nursing and Health, 36(2), 158-170. DOI: 10.1002/nur.21525
Ellis-Sloan, K. (2019). Teenage mothers in later life: time for a second look. Journal of Adolescence, 77: 98-107. https://doi.org/10.1016/j.adolescence. 2019.10.007
Erfina, E., Widyawati, W., McKenna, L., Reisenhofer, S., & Ismail, D. (2019). Adolescent mothers' experiences of the transition to motherhood: An integrative review. International Journal of Nursing Sciences, 6(2), 221–228. https://doi.org/ 10.1016/j.ijnss. 2019.03.013
Kawakita, T., Wilson, K., Grantz, K. L., Landy, H. J., Huang, C-C., Gomez-Lobo, V. (2016). Adverse maternal and neonatal outcomes in adolescent pregnancy. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecology. 29(2), 130-136. https://doi.org/ 10.1016/j.jpag. 2015.08.006
Lowdermilk, D. L., Perry, S. E., Cashion, K., Alden, K. R., & Olshansky, E. F. (2020). Maternity and women's health care. (12thed.). St. Louis, MO: Elsevier.
McLeroy, K. R., Bibeau, D., Steckler, A. & Glanz, K. (1988). An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly, 15(4), 351-377. https://doi.org/10.1177/109019818801500401
Murray, S., McKinney, E., Holub, K., & Jones, R. (2019). Foundations of maternal-newborn and women's health nursing. (7th ed.). St. Louis, MO: Elsevier.
Patel, H. P., & Sen, B. (2012). Teen motherhood and long-term health consequences. Maternal and Child Health Journal, 16(5): 1063–1071. https://doi.org/10.1007/s10995-011-0829-2
World Health Organization. (2017). World health statistics 2017: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Retrieved from https://apps.who. int/iris/bitstream/handle/10665/272596/9789241565585-eng.pdf?ua=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น