ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง รวมถึงศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.บางทราย จำนวน 92 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์
ผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 37.02, SD = 10.17) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 37.76, SD = 7.87) ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เป็นโรคและความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษา มีโอกาสควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา 7.90 เท่า ผู้ที่เป็นเบาหวานระยะเวลา 6-10 ปี 11- 15 ปี และมากกว่า 15 ปี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการเป็นโรค 1-5 ปี ที่ 8.82 เท่า (95% CI; 1.34 – 57.86) 4.43 เท่า (95% CI; 0.743 – 26.46) และ 39.84 เท่า (95% CI; 5.06 – 313.5) ตามลำดับ ผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพอใช้ และความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่ดี ที่ 0.046 เท่า (95%CI; 0.004 - 0.49) และ 0.771 เท่า (95% CI; 0.070 – 8.50) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการออกแบบโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
References
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2559). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3 อ. 2 ส. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
จตุพร แต่งเมือง และเบญจา มุกตพันธุ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขศึกษา, 41(1),103-113.
จริยา นพเคราะห์ โรจนี จินตนาวัฒน์ และทศพร คำผลศิริ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพการจัดการตนเองผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 47(2), 251-261.
จิราพร เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และวิชุดา กิจธรธรรม. (2556). การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนให้ผู้เป็นเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(2), 63-80.
นิตยา พันธุเวทย์ และนุชรี อาบสุวรรณ. (2553). การศึกษาพัฒนาต้นแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน. นนทบุรี: สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
บุศรา สุขสวัสดิ์. (2563). การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. การสัมภาษณ์ วันที่ 27 มีนาคม 2563 เวลา 13.00-14.00 น. ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย.
รื่นจิต เพชรชิต. (2557). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(2),15-28.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย. (2562). รายงานประจำปี 2561. ชลบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย (เอกสารอัดสำเนา).
ลักษณา พงษ์ภุมมา และศุภรา หิมานันโต. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20(2), 67-76.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และวิทยา จันทร์ทา. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 24(2), 34-51.
วิทยา จันทร์ทา. (2559). ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สลิดา รันนันท์ และพาพร เหล่าสีนาท. (2562). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3), 138-148.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา และจุฑามาศ สุขเกษม. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 93-103.
สมเกียรติ โพธิสัตย์, เนติมา คูนีย์, รัชนีบูลย์ อุดมชัยรัตน์, พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์, สุรีพร คนละเอียด, ศุภลักษณ์ มีรัตนไพร และเกตุแก้ว สายน้ำเย็น. (2557). การทบทวนวรรณกรรม : สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี : อาร์ต ควอลิไฟท์.
โสภิต แสงทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานกรณีศึกษาโรงพยาบาลกระบี่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
อรุณี สมพันธ์, แสงทอง ธีระทองคำ, นพวรรณ เปียซื่อ และสมนึก สกุลหงส์โสภณ. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(1), 96-109.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และธัญชนก ขุมทอง. (2560). การพัฒนาเครื่องมือวัด ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(3) 1-16.
American Diabetes Association. (2012). Standards of medical in diabetes-2012. Diabetes Care, 35, S11- S63.
Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., Viera, A., Crotty, K., Holland, A.,…Viswanathan, M. (2011). Health literacy interventions and outcomes: an updated systematic review. Evidence report/technology assessment, (199), 1-941.
Fernandez, D. M., Larson, J. L., & Zikmund-Fisher, B. J. (2016). Associations between health literacy and preventive health behaviors among older adults: findings from the health and retirement study. BMC Public Health, 16, 596.
Ishikawa, H., & Yano, E. (2011). The relationship of patient participation and diabetes outcomes for patients with high vs. low health literacy. Patient Education and Counseling, 84(3), 393-397.
Karam, J. G., & McFarlane, S. I. (2011). Update on the prevention of type 2 diabetes. Current Diabetes Reports, 11(1), 56-63.
Liu, Y. B., Liu, L., Li, Y. E., Chen, Y. L. (2015). Relationship between health literacy, health-related behaviors and health status: a survey of elderly Chinese. International journal of environmental research and public health, 12(8), 9714-9725.
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal : a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.
Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., & Brand, H. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12, 80.
World Health Organization. (1998). Health literacy. In World Health Organization, Health Promotion Glossary (p. 10). Geneva: WHO.
World Health Organization. (2011). Diabetes Mellitus. Retrieved from http://www.int./topics./diabetes_mellitus/en/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น