ประสบการณ์การถูกตีตราของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อลดการตีตราตนเองเมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • บุณรฎา นามแก้ว โรงพยาบาลควนเนียง
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, การตีตราตนเอง, ประสบการณ์, วิธีปฏิบัติตัวที่ดี

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การถูกตีตราและวิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพื่อลดการตีตราตนเองเมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาประสบการณ์การตีตราของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่รับยาต้านไวรัสที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสงขลา จำนวน 59 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ระยะที่ 2 ศึกษาวิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่สามารถลดการตีตราตนเอง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่สามารถลดการตีตราตนเองได้ จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า

  1. ประสบการณ์การถูกตีตรา จำแนกได้ 3 ประเด็น คือ 1) การตีตราตัวเอง ข้อค้นพบคือ 1.1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 64.7 หลีกเลี่ยงที่จะไปสถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน เนื่องจากกลัวการถูกเปิดเผยข้อมูลสถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตน และ 1.2) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอายและกลัวเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจ้องมองหรือนินทาตนเอง 2) การตีตราจากบุคคลรอบข้าง ข้อค้นพบคือ สมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ไม่เคยแสดงท่าทีรังเกียจ ร้อยละ78 และ 3) การถูกตีตราจากผู้ให้บริการสุขภาพ ข้อค้นพบคือ ผู้ให้บริการสุขภาพส่วนใหญ่มักแนะนำว่า “อย่ามีลูกเลย” เพราะติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ30

  2. วิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่สามารถลดการตีตราตนเองได้เมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล มีข้อค้นพบหลักคือ การเปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ การเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเอง และการปรับตัวเข้ากับสังคม

  การศึกษานี้เป็นประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่จะนำผลวิจัยไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งในคลินิกของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่ระบบได้เร็ว ลดการแพร่กระจายของเชื้อ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น     

References

กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์. (2558). คู่มือการสำรวจการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ “ในกลุ่มผู้รับบริการสุขภาพ”. นนทบุรี: หกหนึ่งเจ็ดจำกัด.

กนกวรรณ สาธุอยู่ศิริกุล, ฐิรชัย หงส์ยันตรชัย และปวิธ สิริเกียรติกุล. (2562). ผลการบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่มีต่อการลดการตีตราในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ในโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารรัชต์ภาคย์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(31), 171-178.

กัลยาณี จันธิมา, ศิวะยุทธ สิงห์ปรุ และบุญสวย ชัยสถิตกุล. (2560). สถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติจากเอชไอวีในเขตสุขภาพที่ 9. วารสารวิชาการ สคร.9, 26(1), 13-24.

จิราพร จิระสถิตย์. (2560). การรับรู้การตีตราจากสังคมและปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ชนิกา ศรีราช. (2559). พฤติกรรมการกินยาต้านไว้ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, สาขาวิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ. ปทุมธานี.

ฟูซียะห์ หะยี. (2551). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่ผสมผสานการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยต่อความเหนื่อยล้าในผู้ติดเชื้อเอชไอวี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะพยาบาลศาสตร์, ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์. สงขลา.

ณัฐพร ลีนวิภาต, และทวารัตน์ โคตรภูเวียง. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีจังหวัดขอนแก่น. วารสารควบคุมโรค, 27(1), 1-11.

ทัศนีย์วรรณ สกุลแก้ว. (2558). การรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีสุขภาพดี. วาสารการพยาบาลและการดูแลดูแลสุขภาพ, 33(2), 132-141.

ทองดาริณี เมียสพรม,ปรีย์กมล รัชนกุล และพวงผกา คงวัฒนานนท์. (2556) ประสบการณ์การดูแลตนเองของวัยรุ่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไว้ฯ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(3), 58-67.

พรนิภา หาญละคร, สมใจ รัตนมณี และประกอบ ขันทอง. (2556). ผลของกลุ่มบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึ สมาธิต่อความซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตในผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(1), 132-141.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล และชุติวัลย์ พลเดช. (2561). ผลของการตีตราต่อผู้เป็นโรคเรื้อนวัณโรคและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นโรคเอดส์. วารสารควบคุมโรค, 44(1), 19-29.

Corrigan, P. W., Watson, A. C., & Sells, M., (2007). Self-stigma in people with mental illness. Schizophrenia Bulletin, 33(6), 1312-1318.

Eshetu, D. A., Woldeyohannes, S. M., Kebede, M. A., Techane, G. N., Gizachew, K. D., Tegegne, M. T., & Misganaw, B. T. (2015). Prevalence of Depression and Associated Factors among HIV/ AIDS Patients Attending ART Clinic at Debrebirhan Referral Hospital, North Showa, Amhara Region, Ethiopia. Clinical Psychiatry, 1(1). DOI: 10.21767/2471-9854.100003.

Goffman, E. (1963). Stigma: Note on the management of spoiled identify. Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Miller, W. L.& Crabtree, B. F., (1992). Primary Care Research: A Multimethod Typology and Qualitative Road Map. In B.F. Crabtree & W. L., Miller (Eds.), Doing Qualitative Research, (pp. 3-28). Newbury Park: SAGE.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient: Turning obstacles into opportunity. New York: John Wiley & Sons.

Social Research Institute. (2017). Employment discrimination to people with HIV infection Retrieved from: http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F07989.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-01