การรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตอนต้น ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • ฟารีดา หลังย่าหน่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จ.สตูล
  • ลลิตา ยะฝา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จ.สตูล
  • ชารีฟ๊ะ นารีเปน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จ.สตูล
  • ยุภาดา ดวงตา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จ.สตูล
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาวะคุกคาม, สมองเสื่อม, ผู้สูงอายุตอนต้น

บทคัดย่อ

  ประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมเฉลี่ยร้อยละ 2-10 จากการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุพื้นที่ตำบลควนโดน พบว่า มีผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 13.9 การวิจัยเชิงพรรณนา  ครั้งนี้ เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อม (การรับรู้โอกาสเสี่ยง/การรับรู้ความรุนแรง) ในผู้สูงอายุตอนต้น ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวน 128 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิจากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยการหยิบฉลากแบบไม่คืนที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ระหว่าง .67–1.00 แล้วนำมาทดลองใช้ จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test

  ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตอนต้น มีระดับการรับรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (M = 3.18, SD = 0.21) ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่มีเพศและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างกัน จะมีการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุเพศหญิงและมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีการรับรู้มากกว่าผู้สูงอายุเพศชายและไม่มีโรคเรื้อรัง

  ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมโดยเน้นเรื่องการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของโรค ความรุนแรงของโรคในกลุ่มผู้สูงอายุทุกเพศ รวมทั้งผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และควรศึกษาในวัยก่อนผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุต่อไป

Author Biography

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Thailand Citation Index Centre

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับ แก้ไข พ.ศ. 2553). สืบค้นจาก HTTPS://WWW.DOP.GO.TH/DOWNLOAD/LAWS/REGULATION_TH_20152509163042_1.PDF.

กานต์ธิชา กำแพงแก้ว, วิไลพรรณ สมบุณตนนท์ และวีนัส ลีฬหกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 40-56.

จรรฎา ภูยาฟ้า และวาสนา รวยสูงเนิน. (2563). ปัจจัยทำนายการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(4), 64-72.

จิรานันท์ สุริยะ. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ชัชวาล วงค์สารี, และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสารมฉก.วิชาการ, 22(43-44), 166-179.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย. สืบค้นจาก https://lllskill.com/web/files/GPower.pdf.

นิตยา เย็นฉ่ำ. (2535). ความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติตนเพื่องดสูบบุหรี่ของบุคลากรชายในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะภร ไพรสนธิ์, และพรสวรรค์ เจ็ดตน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 65-80.

เพชรรัตน์ พิบาล, จตุพร จันทพฤกษ์, ภาวณี แพงสุข, ปิยนุช ภิญโย, ภควรรณ ตลอดพงษ์, นิสากร เห็มชนาน. (2561). การศึกษาสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ราชวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 8(2), 46-57.

ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. (2564). ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 392-398.

ลักขณาภรณ์ เสนชัย. (2559). ประสบการณ์การปรับตัวของผู้ดูแลในการดูแลกิจวัตรประจําวันผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชนบท. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 74-81.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2545). การออกกำลังกายทั่วไปและเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สุทธินันท์ สุบินดี และบำเพ็ญจิต แสงชาติ. (2561). การรับรู้ของชุมชนเกี่ยวกับผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(3), 54-64.

สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2561). การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. การพยาบาลและการดูแล สุขภาพ, 36(4), 6-14.

อรอุมา คงแก้ว, ขนิษฐา นาคะ และจารุวรรณ กฤตย์ประชา. (2561). การรับรู้การเจ็บป่วย และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(1), 115-128.

เอมอร พุฒิพิสิฐเชฐ. (2542). การรับรู้และพฤติกรรมของคนไทยต่อการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1208?locale-attribute=th.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03