ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อณัญญา ลาลุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • บษพร วิรุณพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือด คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติในคลินิกโรคเรื้อรัง และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบบันทึกระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test

ผลการวิจัย พบว่าผลของคะแนนและระดับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภายหลังได้รับโปรแกรมโดยรวมมีระดับพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับสูงมากกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือดดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.00) และกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคุณภาพชีวิตโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเกิดผลลัพธ์ทั้งในด้านสุขภาพการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมนี้ไปลงสู่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

References

กระทรวงสาธารณสุข, กองโรคไม่ติดต่อ. (2563). จำนวนอัตราป่วย ตาย ปี 2559-2562. สืบค้นจาก

http://thaincd.com/2016/mission/documents-detail.

กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และสุนีย์ ละกำปั่น. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนีนครราชีมา, 25(2), 87-103.

โชติกา สัตนาโค และจุฬาภรณ์ โสตะ. (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 32-74.

นงณภัทร รุ่งเนย, ศิริพร ครุฑกาศ, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, นงคราญ บุญอิ้ง และน้ำฝน วิชิรรัตนพงษ์เมธี.

(2560). การอธิบายความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 7(1), 20-30.

บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, ฉัตรประอร งามอุโฆษ และน้ำเพชร สายบัวทอง. (2551). การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ภายหลังเข้าโครงการอบรมความรู้การจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(3), 289-297.

ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และสุทธีพร มูลศาสตร์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 105-116.

ภาวิณี ชุ่มเฉียง, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร และณิชกานต์ ทรงไทย. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 19(1), 108-119.

วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี. (2556). กรอบแนวคิดการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองในคลินิกสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริม. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 57(3), 279-291.

วงเดือน ฦาชา, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, กาญจนา เปสี และพนิตนาฏ รักษ์มณี. (2554). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล, 38(1), 31-41.

ศุภรัฐ พูนกล้า และสุขสิน เอกา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(1), 30-45.

ศรีบุศย์ ศรีไชยจรูญพงศ์, ธวัชชัย อินทะสร้อย, อภิญญา เพชรวิสัย และรุ่งทิพย์ ไพศาล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชียงเครือโพธิ์ชัย ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(3), 23-33.

สุมาลี หงษาวงศ์. (2562). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(3), 411-417.

สาวิตรี นามพะธาย. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

อุมาลี ธรศรี, พัชราณี ภวัตกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และกานดาวสี มาลีวงษ์. (2561). โปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการ : ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์การกำกับตนเองและแรงสนับสนุนจากครอบครัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(3), 284-295.

อรพินท์ สีขาว. (2559). การจัดการโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : เอ็ม แอนด์ เอ็ม เลเซอร์ พริ้นต์

Kanfer,F., & Gaelick, L, (1991). Self-Management methods. In F. Kanfer, & A. Goldstein (Eds), Helping people change: A text-book of methods (4th ed., pp. 305-360). New York: Pergamon Press.

Wood, F.G., Alley, E., Baer, S., & Johnson, R. (2015). Interactive Multimedia Tailored to Improve Diabetes Self-Management. The Nursing clinics of North America, 50, 565–576.

World Health Organization, (2021). Diabetes. Retrieved from https://www.who.int/news- room/fact-sheets/detail/diabetes.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28