ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ภาวะเหนื่อยล้า, อาจารย์พยาบาล, สถาบันพระบรมราชชนกบทคัดย่อ
การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทำนายของภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาล จำนวนทั้งหมด 174 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบแบ่งชั้นแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์โดยการถดถอยแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจ และภาระครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนระดับการศึกษาขั้นสูงสุดและรายได้มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงาน ด้านปริมาณงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ และสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านโอกาสในการเจริญเติบโตและความก้าวหน้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงาน ด้านปริมาณงาน เงินเดือนและผลประโยชน์ โอกาสในการเจริญเติบโตและความก้าวหน้า สามารถร่วมกันทำนายภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของอาจารย์พยาบาลได้ ร้อยละ 46 (R2 = 0.46)
References
กนกกร ศรีทาโส. (2552). ปัจจัยด้านองค์การที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กนกภรณ์ ใจแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความเครียดในงาน และการเผชิญปัญหากับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประชากรศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ดวงเนตร ธรรมกุล, มาสริน ศุกลปักษ์ และรัชนี ศุจิจันทรรัตน์. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาจารย์พยาบาลเครือข่ายภาคกลาง1 สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 184-198.
กฤษดา แสวงดี. (2550) สถานการณ์ด้านกำลังคนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. ใน ฑิณกร โนรี (บรรณาธิการ), วิกฤตกำลังคนด้านสุขภาพทางออกหรือทางตัน (หน้า 49-56). กรุงเทพมหานคร : กราฟิโกซิสเต็มส์.
ทมาภรณ์ สุขสวรรค์, กิ่งแก้ว แสงสว่าง และพิมพ์พิมล เรืองฤทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมกับภาวะเบื่องานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคเหนือ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 40-47.
บุญญาภา โพธิ์เกษม, และนุจรี ไชยมงคล. (2558). อาจารย์พยาบาลกับความสุขในการทำงาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1),13-24.
บุญธิดา เทือกสุบรรณ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2545). จิตวิทยาการฝึกอบรม. เชียงใหม่ : ภาควิชาจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิไล พัวรักษา. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการปฏิบัติงานกับความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Maslach, C., & Jackson, S. E. (1981). The measurement of experienced burnout. Journal of Occupational Behavior, 2, 99-113.
Maslach, C. (1982). Burnout: The cost of caring (2nd ed.). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Potempa, K. M., Redman, R. W., & Landstrom, G. (2009). Human resources in nursing education : A worldwide crisis. Collegian, 11(1), 19-23.
Shipman, D., & Hooten, J. (2008). Without enough nurse educators there will be a continual decline in RNs and the quality of nursing care: contending with the faculty shortage. Nurse Education Today, 28(5), 521-523.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น