ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหืดในคลินิกโรคหอบหืด โรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยหืด, คลินิกโรคหอบหืดบทคัดย่อ
การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหืดในคลินิกโรคหอบหืด โรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหืด จำนวน 129 คน ใช้สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามความเชื่อในศักยภาพของตนเอง การรับรู้ความเจ็บป่วย การสร้างพลังอำนาจจากคนใกล้ชิด การจัดการสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืด ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ค่าความสอดคล้องระหว่าง .67 – 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ 0.98, 0.70, 0.96, 0.91 และ 0.92 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหืดในคลินิกโรคหอบหืดโรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.27, SD = 0.68) สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยด้านการสร้างพลังอำนาจจากบุคคลใกล้ชิด (Beta = 0.469) ความเชื่อในศักยภาพของตนเอง (Beta = .267)และ การจัดการสิ่งแวดล้อม (Beta = 0.247) สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหอบหืดได้ร้อยละ 67.50 (adj.R2 = 0.675) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ควรนำปัจจัยการสร้างพลังอำนาจจากคนใกล้ชิดไปจัดกิจกรรม เช่น กิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน กิจกรรมเพื่อนต้นแบบ เพื่อส่งเสริมและปรับเปลี่ยนกิจกรรมการรักษาพยาบาลทั้งในเชิงรับและเชิงรุกเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด
References
เกรียงศักดิ์ หาญสิทธิพร. (2555). ผลลัพธ์ของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายในโรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(2), 167-171.
ทัชชภร หมื่นนิพัฒ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหืดในผู้ป่วยโรคหืดที่มีมารับบริการในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มยุรี คุณเลิศ. (2557). การพัฒนาคลินิกโรคหืดในโรงพยาบาลวังน้อย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 4(3), 208-215.
โรงพยาบาลควนเนียง อำเภอควนเนียง. (2559). ผู้ป่วยโรคหืดที่ขึ้นทะเบียนในคลินิกโรคหืดของโรงพยาบาล ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559. เอกสารอัดสำเนา.
ลัดดา อิ่มทองใบ. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลและป้องกันการกลับเป็นซํ้าโรคหอบหืด ของบุตรอายุ 1-5 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. (2559). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ประจำปี 2559 สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Controversial Issues in Asthma 2016. วันที่ 20-22 มีนาคม 2559 โรงแรมแลนมาร์ค กรุงเทพฯ. หน้า 3.
สารภี พุฒคง, อรสา พันธ์ภักดี, พรทิพย์ มาลาธรรม และธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาและการรับรู้การควบคุมโรคของผู้สูงอายุโรคหืด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), 309-327.
สิริรัตน์ ลีลาจรัส และสุนารี เจียรวิทยากิจ. (2558). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีมโนภาพการรับรู้ความเจ็บป่วยแบบCommon Sense กับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3),137-152.
สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2560). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 18(1), 29 – 38.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E.R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Trakultivakorn, M. (2012).Economic burden of asthma in Thailand. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology, 30:1-2
Wolrd Health Organization. (2013). Asthma. Retrieved from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs307/en/
Wolrd Health Organization Regional Office South-East Asia. (2013). Regional Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases (2013–2020). Regional Committee. Sixty-sixth Session, New Delhi, India 10–13 September 2013.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น