ผลของการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อจำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • นภัสวรรณ สันจร โรงพยาบาลสงขลา

คำสำคัญ:

ชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, การเข้ามารับการตรวจรักษาซ้ำ, การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน, การกลับมารักษาซ้ำ

บทคัดย่อ

    การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อจำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ.2562 - เมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 27 รายเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่สร้างตามกรอบแนวคิดทฤษฎีระบบของเบอร์ทาแลนไฟและการวางแผนจำหน่ายรูปแบบ D-METHOD ของกองการพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก (Non-parametric statistics) ทดสอบโดย Wilcoxon Signed Rank Test

   กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 69.81 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา (51.9%) ประกอบอาชีพเกษตรกร (40.7%) สถานภาพสมรสคู่ (70.4%) มีโรคประจำตัว 2 โรค (33.3%) เคยเข้ารับการรักษาครั้งล่าสุดในแผนกผู้ป่วยในเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (25.9%) ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (96.3%) สาเหตุการเข้ารับการรักษาส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน (29.6%) สาเหตุรองลงมาคือจากการขาดยา (25.9%) และสภาพอากาศ (25.9%) ผู้ป่วยร้อยละ 77.8 มีผู้ดูแลโดยมีประวัติการสูบบุหรี่ในอดีต (97.4%) ระยะเวลาเฉลี่ยในการสูบบุหรี่ 25.5 ปี ปริมาณการสูบบุหรี่เฉลี่ย 20.2 มวน/วัน ส่วนการสูบบุหรี่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ร้อยละ 98.5 เลิกสูบบุหรี่แล้ว ระยะเวลาในการเลิกสูบบุหรี่โดยเฉลี่ย 16.2 ปี และวิเคราะห์ผลการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษาพบว่าการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลดลงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นควรมีการศึกษาวิจัยการนำชุดการวางแผนจำหน่ายไปพัฒนาในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นต่อไป

References

กองการพยาบาล, กระทรวงสาธารณสุข. (2539). แนวทางการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมลพรรณ เนียมหอม. (2550). ประสบการณ์การกลับเขามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพาชลบุรี

วันเพ็ญ พิชิตพรชัย, จงจิต เสน่หา, วันดี โตสุขศรี และศรันยา โฆษิตะมงคล. (2546). แนวคิดและกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. ใน วันเพ็ญ พิชิตพรชัย และอุษาวดี อัสดรวิเศษ (บรรณาธิการ), การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง, หน้า 1-9). กรุงเทพมหานคร : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันโรคทรวงอก, กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข. (2562). Burden of COPD. สืบค้นจาก https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf

สมิทธ์ เกิดสินธุ์ และระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. (2559). ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ต่อการรับผู้ป่วยในซ้ำใน 28 วัน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(2), 246-254 .

สังวาล ชุมภูเทพ. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลลี้จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุภาพร ตันสุวรรณ. (2551). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังมี่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ลาวจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อาดีละห์ สะไร. (2559). ผลของโปรแกรมการบูรณาการการวางแผนจาหน่ายร่วมกับประสบการณ์อาการต่อความสามารถในการจัดการอาการและสภาวะอาการหายใจลําบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อิงครัตน์ รอดการทุกข์, สุดศิริ หิรัญชุณหะ และเรวดี เพชรศิราสัณห์. (2560). อาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปัจจัยกระตุ้น และวิธีการจัดการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.

Bertalanffy, L. V. (1998). General System Theory. Retrieved from https://www.panarchy.org/vonbertalanffy/systems.1998.html.

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (Rev. ed.). NewYork: Academic Press.

Criner, R. N., & Han, M. K. (2018). COPD care in the 21st century: A public health priority. Respiratory Care, 63(5), 591-600. doi: 10.4187/respcare.06276. Epub 2018 Apr 24.

Disler, R.T., Gallagher, R. D., & Davidson, P. M. (2012). Factors influencing self-management in chronic obstructive pulmonary disease: an integrative review. International journal of nursing studies, 49(2), 230-242.

Donaldson, G. C., & Wedzicha, J. A. (2006). COPD exacerbations 1: Epidemiology. Thorax, 61, 164-168.

Glaab, T., Vogelmeier, C., Hellmann, A., & Buhl, R. (2012). Guideline-based survey of outpatient COPD management by pulmonary specialists in Germany. International journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease, 7, 101-108. doi:10.2147/COPD.S27887. Epub Feb 14.

Hopkinson, N. S., Englebretsen, C., Cooley, N., Kennie, K., Lim, M., Woodcock, T, Lai, D. (2012). Designing and implementing a COPD discharge care bundle. Thorax, 67, 90-92.

Lenferink, A., Brusse-Keizer, M., van der Valk, P. D.,Frith, P. E., Zwering, M., Monninkhof, E. M. … Effing, T. W. (2017). Self-management interventions including action plans for exacerbations versus usual care in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database Syst Rev, 8(8), CD011682. doi: 10.1002/14651858.CD011682.pub2.

Wangsom, A. (2016). Dyspnea management in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 27, 2-12.

Yin, P., Jiang, C. Q., Cheng, K. K., Lam, T. H., Lam, K. H., Miller, M. R. Adab, P. (2007). Passive smoking exposure and risk of COPD among adult inChina: The Guangzhou Biobank Cohort Study. Lancet, 370(9589), 751-757. DOI: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(07)61378-6

Zwerink, M., Bruaaw-Keizer, M., van der Valk, P. D. L. P. M., Zielhuis, G. A., Monninkof, E. M., van der Palen, J. … Effing, T. (2014). Self-management for patients with chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database Syst Rev, CD002990. doi: 10.1002/14651858.CD002990.pub3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25