ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการคิดวิเคราะห์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการศึกษาอิสระ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • เยาวนา ยงยืน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ภาวิณี แพงสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • เยาวพา วรรณแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการคิดวิเคราะห์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการศึกษาอิสระ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 จำนวน 77 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 และ .96 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้ตอบแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่ามีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 63.64 และทักษะการคิดวิเคราะห์มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านรายงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .263, p = .021) และมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านการฝึกปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  (r= .315, p = .005)  มีข้อเสนอแนะให้สถาบันการศึกษาควรมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการจัดทำรายงานวิเคราะห์และการฝึกทดลองในรายวิชาอื่นๆ ทางการพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน

References

กาญจนา เลิศถาวรธรรม, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ และอรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(4), 13-24.

กลุ่มวิชาการ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). สุรินทร์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

เขมรัศมิ์ ดุจวรรณ, กนิพันธุ์ ปานณรงค์, กัญจนภรณ์ ธงทอง และทวินันท์ นามโคตร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 4(2), 117-125.

ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณยนุช พิมใจใส และนงนภัส วงษ์จันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 154-163.

พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2556). การสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(2), 5-19.

มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธนานนท์และสุทธานันท์ กัลป์กะ. (2559). ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(1), 61-74.

รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 412-420.

ศิริมา เขมะเพชร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 152-162.

สุทินี เสาร์แก้ว.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 8(2), 39-49.

สุดา ทองทรัพย์และทองปาน บุญกุศล. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ในวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนุษย์ 2 ต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจของนิสิตพยาบาล. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 89-97.

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2562). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 24-32.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, เยาวเรศ ประภาษานนท์, วารุณี นาดูน และบัณฑิตา ภูอาษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานต่อสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและทักษะการทำงานเป็นทีมในวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 1(3), 29-44.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2543). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ:การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค จำกัด.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fatemeh S. & Shiva H. (2019). The Relationship Between Critical Thinking Skills and Learning Styles and Academic Achievement of Nursing Students. The journal of nursing research, 27(4), 1-6.

Munro, B. H. (2001). Statistical method for health research. (4th ed.). New York: Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23