การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรค Kawasaki disease:

บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล กรณีศึกษา: Complete Kawasaki disease

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ แสงทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • สุชาดา นิ้มวัฒนากุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ศุภรดา มั่นยืน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • เพ็ญแข ดิษฐบรรจง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาลเด็ก, โรคคาวาซากิ, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษารายกรณีในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการอักเสบของหลอดเลือด (vasculitis) ชนิด Complete Kawasaki disease  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินของโรค และแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรค Kawasaki disease ที่มีเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการทางคลินิกครบตามเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อของเกณฑ์วินิจฉัย แต่มีการแสดงอาการทำให้การวินิจฉัยโรคมีความล่าช้าและส่งผลถึงการรักษาอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การสังเกตอาการ ได้แก่ ไข้สูง การเปลี่ยน แปลงของผิวหนัง การอักเสบของเส้นเลือดแดงขนาดกลางและขนาดเล็ก ลิ้นมีสีแดงคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตมากกว่า 1.5 cm. ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลันจากเส้นเลือด coronary โป่งพอง และมีการอุดตันของหลอดเลือดจากการอักเสบ หรือการแตกของเลือด   

บทความนี้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถด้านการพยาบาลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การพยาบาลที่ถูกต้องและการรายงานแพทย์ที่รวดเร็วจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การพยาบาลเพื่อลดความไม่สุขสบายจากอาการไข้สูง จัดการอาการรับประทานอาหารได้น้อยจากอาการเจ็บปาก ดูแลให้ Intravenous Immunoglobulin (IVIG) และยา Aspirin สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ ตลอดจนการให้คำแนะนำเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านเกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

ชนาธิป ลือวิเศษไพบูรณ์. (2557). โรคหัวใจที่เกิดภายหลัง. ใน สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร, อรุชา ตรีศิริโชค, ชนาธิป

ลือวิเศษไพบูรณ์, โอฬาร พรหมาลิขิต, เกศรา อัศดามงคล, และไพโรจน์ จงบัญญัติเจริญ(บรรณาธิการ), กุมารเวชศาสตร์ 2. (หน้า 1003-1031). กรุงเทพมหานคร: นพชัยการพิมพ์.

ญาดา พันธุ์มีสุข และวรฤทัย สุขสิน. (2555). การพยาบาลเด็กโรคคาวาซากิที่ไม่เป็นไปตามปกติ (กรณีศึกษา). วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 24(2), 85-95.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2555). การพยาบาลเด็ก เล่ม 2. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

มาลี วิทยาธรรัตน์, พัชรี ใจการุณ.(2555). การส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก. ใน พรทิพย์ ศิริบูรณ์ พิพัฒนา (บรรณาธิการ). การพยาบาลเด็ก เล่ม 1. (หน้า 35-57).นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

รัฐพล ว่องวันดี. (2561). โรคคาวาซากิ Kawasaki disease. ใน ศุกระวรรณ อินทรขาว, จักรชัย จึงธีรพานิช, ผกาทิพย์ ศิลปะมงคลกุล, กิติวรรณ โรจนเนืองนิตย์, พชรพรรณ สุรพลชัย, ขนิษฐา คูศิวิไลส์, พรทิพา อิงคกุล (บรรณาธิการ), ตำรากุมารเวชศาสตร์สำหรับนักศึกษาแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติ เล่ม 2. (หน้า 591-606). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณไพร แย้มนา และสุพัตรา นุตรักษ์. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ. กรุงเทพมหานคร: นีโอดิจิตอล.

วัชระ จามจุรีรักษ์, ชาลีพรพัฒน์กุล และจาดศรี ประจอบเหมาะ. (2555). โรคคาวาซากิ Kawasaki disease. ใน บุญชู ศิริจงกลทอง, กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล, ชดชนก วิจารสรณ์, กัญญลักษณ์ วิเทศสนธิ, มนัส ปะนะ มณฑา, อังคณา เก่งสกุล, สุภาพร โรยมณี (บรรณาธิการ), กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ. (หน้า 307-343). กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส.

วิชัย ประยูรวิวัฒน์. (2555). เวชปฏิบัติทางโลหิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์. สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร, อรุชา ตรีศิริโชติ, ชนาธิป ลือวิเศษไพบูรณ์, โอฬาร พรหมาลิขิต, เกศรา อัศดามงคล และไพโรจน์ จงบัญญัติเจริญ. (2557). กุมารเวชศาสตร์ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นพชัยการพิมพ์.

สมพร สุนทราภา. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท. ใน ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, วิไลเลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง (บรรณาธิการ), ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 2 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. (หน้า 925-931). กรุงเทพฯ: สหมิตร พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Mc.Crindle, B., Rowley, A., Newburger, J., Burns, J.C., Bolger, A., Gewitz, M., et al. (2017). Diagnosis, treatment and long-term management of Kawasaki disease: A scientific statement for health professionals from the American Heart Association 2017 (pp 927-999). New York.Lippincott Williams & Wilkins.

Newburger, J. W., Takahashi, M., & Burns, J.C. (2016). Kawasaki disease. Journal of the American College of Cardiology, 67(14), 1738-1749. doi: 10.1016/j.jacc.2015.12.073. PMID: 27056781.

Orem DE. (1995). Nursing concept of practice. New York: Mcgrow Hill Book Company.

Rodo. X., Curcoll, R., Robinson, M., Ballester, J., Burns, J.C., Cayan, D.R., et al. (2014). Tropospheric winds from northeastern China carry the etiologic agent of Kawasaki disease from its source to Japan. Proceedings of the National Academy of Sciences, 11(1), 7952-7957.

Syndi Seinfeld, D., & Pellock, J. M. (2013). Recent Research on Febrile Seizures: A Review. Journal of neurology & neurophysiology, 4(165), 19519. https://doi.org/10.4172/2155-9562.1000165

World Health Organization. (2013). Implementing the new recommendation on the clinical management of diarrhea: guidelines for policy makers and program managers. Geneva: WHO document production services.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28