การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาลสะเดา

ผู้แต่ง

  • อรวดี กาลสงค์ โรงพยาบาลสะเดา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วย STEMI

บทคัดย่อ

   การวิจัยพัฒนาแนวปฏิบัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาลสะเดา โดยประยุกต์กระบวนการใช้ผลงานวิจัยตามกรอบแนวคิดของไอโอวา  (IOWA model of evidence based practice to promote quality care) ประกอบด้วยงานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 7 เรื่อง มาวิเคราะห์และสกัดสาระสำคัญพัฒนาแนวปฏิบัติ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความเหมาะสมของแนวปฏิบัติ ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการ จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินจังหวัดสงขลา 32 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีหยิบฉลากแบบไม่คืน และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพกับผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาลสะเดาทุกคนในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 มีจำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติ One – sample t-test

   ผลการวิจัย พบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาล  สะเดา ประกอบด้วย 12 ข้อปฏิบัติ แบ่งเป็นการดูแลก่อน ขณะ และหลังได้รับยา วิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการของแนวปฏิบัติ โดยใช้สถิติค่าที (One sample t - test) กับระดับค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ประเมินค่าที่ระดับมาก (µ  ≥  3.50) พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ของโรงพยาบาลสะเดา มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001 ทั้ง 12 ข้อ ผลการใช้แนวปฏิบัติพบว่าพยาบาลใช้แนวปฏิบัติร้อยละ 100 และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน

   ข้อเสนอแนะควรนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ในโรงพยาบาลชุมชน และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

References

กรมควบคุมโรค, สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). รายงานการศึกษาสถานการณ์การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=12501&tid=32&gid=1-020

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมถ์.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

เกรียงไกร เฮงรัศมี. (2558). โรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารกรมการแพทย์. 40 (3) 2558, 1-10

ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2561) การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21

โรงพยาบาลหาดใหญ่. (2557). แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. สงขลา. เอกสารอัดสำเนา.

โรงพยาบาลสะเดา, แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน. (2560). ข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลสะเดา. สงขลา. เอกสารอัดสำเนา

วิศิษฎ์ อภิสิทธิ์วิทยา. (2555). ผลการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด ST elevation ด้วยยา Streptokinase ในโรงพยาบาลชุมชน. พุทธชินราชเวชสาร, 29(3), 349-356

ศุภชัย ไตรอุโฆษ. (2556). การจัดการและการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เอกสารอัดสำเนา

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย, สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย, ชมรมคลื่นสะท้อนเสียงหัวใจแห่งประเทศไทย, ชมรมช่างไฟฟ้าหัวใจแห่งประเทศไทย, ชมรมคาร์ดิแอคอิมเมจจิงแห่งประเทศไทย และชมรมมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจแห่งประเทศไทย. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, แพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมแพทย์มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคหัวใจ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพ.ศ. 2563.กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตปดีไซน์.

สราวุฒิ ธนสมบูรณ์พันธุ์ และชาติชาย คล้ายสุบรรณ. (2557). ST-segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI). ในบริบทที่ไม่สามารถสวนหัวใจได้ทันเวลา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 31(1), 30-42

สุนันทา สกูลดี. (2554). EKG in Ischemic heart disease. ใน ปิยะนัยต์ วัฒนประสาน (บรรณาธิการ), การอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 111-130). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์

Marco, R., Carlo, P., Jean-Philippe, C., Christian, M., Marco, V., Felicita, A., Jeroen J., et al. (2015). 2015 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation. European Heart Journal,10(2)1-59

NSW Government Health. (2015). Nurse Administered Thrombosis (NAT) Protocol for ST Elevation Myocardial Infarction (STEMI). Sydney, Australia : NSW Government Health.

Patrick, T., Frederick, G., Donald, E., James. A., James, C., Barry, A., Harlan, M., et al. (2013). 2013 ACC/AHA Guideline for the Management of ST-Elevation Myocardial Infraction. Circulation American Heart Association Journal, 127(4) 362-425

Srimahachota, S., Boonyaratavej, S., Kanjanavanit, R., Sritara, P., Krittayaphong, R., Kunjara-Na-ayudhya, R., Tatsanavivat, P., & TR ACS Group (2012). Thai Registry in Acute Coronary Syndrome (TRACS)--an extension of Thai Acute Coronary Syndrome registry (TACS) group: lower in-hospital but still high mortality at one-year. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet, 95(4), 508–518.

Titler, M. G., Kleiber, C., Steelman, V. J., Rakel, B. A., Budreau, G., Everett, L. Q., Buckwalter, K. C., Tripp-Reimer, T., & Goode, C. J. (2001). The Iowa Model of Evidence-Based Practice to Promote Quality Care. Critical care nursing clinics of North America, 13(4), 497–509.

World Health Organization. (2016). Cardiovascular diseases. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25