การพยาบาลเด็กป่วยโรคไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อก:

กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จริยา ปะรัยนุ โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, การพยาบาลเด็ก, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

               การศึกษานี้เป็นการศึกษารายกรณีผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกระยะช็อก มีวัตถุประสงค์ศึกษาการดำเนินของโรค และแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกระยะช็อก โดยกรณีศึกษาเป็นเด็กชายไทยวัยรุ่น การวินิจฉัยโรค Dengue hemorrhagic fever (DHF) Grade III ภาวะแทรกซ้อน hypovolemic shock with hypokalemia with metabolic acidosis with hepatitis ผู้ป่วยได้รับการดูแลโดยใช้กระบวนการพยาบาล ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยตามระยะของโรคไข้เลือดออก

              ผลการศึกษารายกรณีพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในระยะช็อก มีปัญหาทางการพยาบาลที่ต้องได้รับการดูแลประกอบด้วย ภาวะช็อก ภาวะพร่องออกซิเจน การเสียสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย ภาวะตับวายและความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วย กรณีศึกษาได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลโรคไข้เลือดออกในระยะช็อก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารสารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ได้ตามแผนการรักษาและเฝ้าระวังอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์การพยาบาลคือผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อกและหายเป็นปกติ ใช้ระยะเวลาในการรักษานาน 7 วัน แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้

            ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะในการพยาบาลเด็กป่วยโรคไข้เลือดออกระยะช็อก ได้แก่ พยาบาลต้องสังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ระยะไข้ เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อก พยาบาลจะต้องให้การพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ป้องกันอันตราย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น พยาบาลต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา และเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ได้แก่ เพ้อ ซึม อาเจียน ปวดท้อง การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ ค่าความเข้มของเม็ดเลือดที่มากกว่า 10-20% จากเดิม ปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5  มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง เมื่อพบความผิดปกติรีบรายงานแพทย์ทันทีเพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองโรคติดต่อนำโดยแมลง, กลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย. (2563). สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2563. นนทบุรี: กลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

เจียมใจ สุขาทิพยพันธุ์. (2553). รายงานผู้ป่วยกรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกช็อกรุนแรง. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 4(2), 1-9.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อ ใน พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา (บรรณาธิการ), การพยาบาลเด็ก เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 3, หน้า 1-74). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (บรรณาธิการ). (2556). การวางแผนการพยาบาลเด็กสุขภาพดีและเด็กป่วย. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

โรส ภักดีโต, จุไร อภัยจิรรัตน์, และพัชมน อ้นโต. (2560). โรคไข้เลือดออกเดงกี่ในเด็ก: บทบาทสำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย,10(1), 55-65.

วารุณี วัชรเสวี, รศนา วลีรัตนาภา, รุ่งนภา ธนาบูรณ์ และปิยะดา หะมณี (บรรณาธิการ). (2557). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ฉบับ 60 ปี โรงพยาบาลเด็ก.กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วิไลวรรณ วิจิตรพันธ์. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อก: กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 12(3), 124-35.

ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์ และคณะ. (2561). ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ :โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์ และวารุณี วัชรเสวี. (2559). การวินิจฉัยและการรักษาโรคไข้เลือดออกฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อนัญญา ไทยสูง. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยโรคไขเลือดออกช็อก. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 4(1), 30-43.

เอื้อนจิต สีสลับ. (2556). กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 28(3), 207-215.

Kimberlee, D. D. (2012). Dengue Fever: Re-Emergence of an Old Virus. Journal for Nurse Practitioner, 8(5), 389-393.

World Health Organization. (2020). Dengue and severe dengue fact sheet. Retrieved from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/

Schub, T., March, P., & Pravikoff, D. (2018). Dengue Hemorrhagic Fever. Retrieved from CINAHL Nursing Guide.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29