องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
บุคลากรสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.), องค์ประกอบและตัวบ่งชี้, ความพึงพอใจในการทำงานบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 200 คน ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่อง ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา ตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา พบว่า มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามรายด้าน เท่ากับ .883 - .909 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis: PCA) แล้วหมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่า เกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 84.5 มีอายุระหว่าง 30 - 39 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 45.5 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 76.0 เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 85.5 มีตำแหน่งในปัจจุบัน เป็นพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.5 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.5 และมีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานปัจจุบัน 10 – 15 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29.0 ทั้งนี้ พบว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา มี 5 องค์ประกอบ ทั้งหมด 32 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล มี 10 ตัวบ่งชี้ มีช่วงน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ .82 - .53 2) การเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือ มี 7 ตัวบ่งชี้ มีช่วงน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ .79 - .50 3) ลักษณะของงานที่ทำและค่าตอบแทน มี 6 ตัวบ่งชี้ มีช่วงน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ .78 - .55 4) ความพึงพอใจต่อผู้บังคับบัญชา มี 4 ตัวบ่งชี้ มีช่วงน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ .87 - .57 และ 5) สัมพันธภาพระหว่างครอบครัว มี 5 ตัวบ่งชี้ มีช่วงน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ .78 - .59 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ 32 ตัวบ่งชี้ ได้ร้อยละ 69.863 โดยมีค่าไอเกนเท่ากับ 14.43, 4.43, 2.16, 1.84 และ 1.47 ตามลำดับ จากผลการวิจัยที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสร้างขวัญและกำลังใจของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดยะลาต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2557). รายงานทรัพยากรสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://bps.moph.go.th/new_bps/รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข.
จิราภรณ์ ภู่สมบูรณ์. (2556). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง จังหวัดสกลนคร,วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เจริญ ตันสกุล และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยสภาพแวดล้อมกับความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). สืบค้นจาก http://www.smsmba.ru.ac.th/index_files/AEC/Group1.pdf.
จำลอง เครานวล. (2554). การปฏิบัติงานและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย. (2560). กำลังคนสุขภาพในฐานะแรงงาน : ปัญหาและทางออกของระบบสุขภาพไทย. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2016/04/12004.
ชินกร น้อยคำยาง และปภาดา น้อยคำยาง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. วารสารรังสิตสารสนเทศมหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 88-89.
ณัทฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.
นิเวศน์ เหมวชิรวรากร. (2550). รวยหุ้นอย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขของการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทํางานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ตั้ม บุญรอด, วชิชาดา สิมลา, บุญเรือง ขาวนวล และพลภัทร ทรงศิริ. (2556). ปัจจัยคุณลักษณะของบุคลากรสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(2), 138-149.
วัชระ ขำเลิศ. (2559). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักบริหารกลาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก http://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf.
สุนีย์ เครานวล, อุไร หัถกิจ และอุมาพร ปุญญโสพรรณ. (2552). การให้ความหมาย ความรู้สึก แรงจูงใจ และเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสภาการพยาบาล, 24(2), 64-77.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2561). รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ. สืบค้นจาก http://203.157.10.8/hcode_2014/query_02.php?provcode=96&Submit= ค้นหา.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B. & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Jacobs, J. A., & Gerson, K. (2001). Overworked individuals or overworked families? Explaining trends in work, leisure, and family time. Work and Occupations, 28(1), 40–63.
Maslow, A. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Muldary, T. W. (1983). Interpersonal relations for health professionals : a social skills Approach. New York : Macmillan.
Sheih, C. S. (1998). The effect of perceived leadership behavior on the job satisfaction of subordinates in Taiwan’s university libraries China. Retrieved from http://dbonline.lib.cmu.ac.th/dao/detail.nsp.
Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness. Mahwah, NJ, US: Lawrence Erlbaum Associates Publishers. Retrieved from https://psycnet.apa.org/record/2007-05763-000.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น