การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สมจิตต์ เวียงเพิ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ภรณ์ทิพย์ ผลกระโทก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลและทดสอบความสอดคล้องโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ฝึกภาคปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 160 คน ด้วยแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การเคารพในบุคคล 2) การดูแลผู้ป่วยโดยยึดหลักความปลอดภัย 3) การช่วยเหลือเพื่อสนองความต้องการของบุคคลอย่างองค์รวม 4) การเห็นอกเห็นใจ เต็มใจให้ความช่วยเหลือประดุจญาติ และ 5) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ .88 .71 .63 .54 และ .36 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควร์เท่ากับ 1.12 ที่องศาอิสระ 2 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.5717 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 แสดงว่า โมเดลการวัดพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรสามารถนำมาอธิบายองค์ประกอบพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลได้

References

จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. (2556). การดูแลอย่างเอื้ออาทร: หัวใจสำคัญของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 134-141.

ฉวีวรรณ ผลิโกมล. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลต่อผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลและการรับรู้ของผู้ป่วย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(2), 187-195.

ชุติมา สืบวงศ์ลี. (2553). การพัฒนาเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงปัญญา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวนนท์ จันทร์สุข. (2559). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 2(1), 68-74.

ภรณี เลื่องอรุณ, สุภาพร วรรณสันทัด และอริสา จิตต์วิบูลย์. (2555). การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(2), 90-103.

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, อวยพร ตัณมุขยกุล, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์ และวิจิตร ศรีสุพรรณ. (2553). การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของพยาบาลไทย. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 14(1), 32-44.

อังคนา จงเจริญ, จักรกฤษณ์ โปณะทอง และจตุพล ยงศร. (2561).การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนิสิตพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก, 19 (ฉบับพิเศษ), 354-363.

อารีญา ด่านผาทอง, พิมพ์จรัส อยู่สวัสดิ์ และประภา ลิ้มประสูติ. (2550). การรับรู้ปัจจัยส่งเสริมการให้บริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับจังหวัด. วารสารสภาการพยาบาล, 22(3), 67-79.

Aktas, Y, T., &Karabulut, N. (2017) Professional values in Turkish undergraduate nursing students and its reflection on caring behavior. Kontakt, 19(2), 125-130. Retrieved from https://kont.zsf.jcu.cz/pdfs/knt/2017/02/07.pdf

Baldursdottir, M. S., &Jonsdottir, H. (2002). The importance of nurse caring behaviors as perceived by patients receiving care at an emergency department. Heart & Lung, 31(1), 67-75.

Chang, Y., Lin, Y.-P., Chang, H.-J., & Lin, C.-C. (2005). Cancer patient and staff ratings of caring behaviors. Cancer Nursing, 28(5), 331-339.

Cronin, S. N., & Harrison, B. P. (1988). Importance of nurse caring behaviors as perceived by patients after myocardial infarction. Heart & Lung, 17(4), 374-380.

Hox, J.J. (2010). Multilevel analysis: Techniques and applications (2nd ed.). New York: Routledge.

Ibahnasawy, H. T., Lawend, J., & Mohammed, E. (2016). Application of Watson Caring Theory for Nurses in Pediatric Critical Care Unit. Journal of Nursing and Health Science, 5(4), 56-67. Retrieved from https://www.iosrjournals.org/iosr-jnhs/papers/vol5-issue4/Version-4/J0504045667.pdf

Kimble, L. (2003). Patients’ perceptions of nurse caring behaviors in an emergency department. Master of Science in Nursing Administration, Marshall University.

Koh, L.C. (2010). Academic staff perspectives of formative assessment in nurse education. Nurse Education in Practice, 10(4), 205-209.

Labrague, L.J. (2012). Caring competencies of baccalaureate nursing students of samar state University. Journal of Nursing Education and Practice, 2(4), 105-113. Retrieved from https://doi.org/10.5430/jnep.v2n4p105

Larson P.J. (1987). Comparison of cancer patients' and professional nurses' perceptions of important nurse caring behaviors. Heart & Lung, 16, 187-193.

Leininger, M. (2002). Culture care theory: A major contribution to advance transcultural nursing knowledge and practices. Journal Transcultural Nursing, 13(3), 189-192.

Mizuno, M., Ozawa, M., Evans, D. R., Okada, A., & Takeo, K. (2005). Caring behaviors perceived by nurses in a Japanese Hospital. The Journal of Nursing Studies: National College of Nursing Japan, 4(1), 13-19. Retrieved from

http://www.ncn.ac.jp/academic/020/2005/2005jns-ncnj05.pdf

Morsi, N. A. & Sabra, A. I. (2013). The nurses' and patients' perception about nursing caring behaviors at Tanta Mental Health Hospital. Life Science Journal, 10(4), 662-669.

Retrieved from https://www.semanticscholar.org/paper/The-Nurses-'-and-Patients-'-Perception-about-Caring-Morsi/28fcc12fd6092b2174ebd58dcd4c32f600147741

Omari, F. H., AbuAlRub, R., & Ayasreh, I. R. (2013). Perceptions of patients and nurses towards nurse caring behaviors in coronary care units in Jordan. Journal of Clinical Nursing, 22(21-22), 3183-3191. Retrieved from

https://www.researchgate.net/publication/257750880_Perceptions_of_patients_and_nurses_towards_nurse_caring_behaviors_in_coronary_care_units_in_Jordan

Roach, M.S. (2002). Caring, the human mode of being: A blueprint for the health professions (2nd ed.). Ottawa: CHA Press.

Suliman, W., Welmann, E., Omer, T., & Thomas, L. (2009). Applying Watson's Nursing Theory to assess patient perceptions of being cared for in a multicultural environment. Journal of Nursing Research, 17(4), 50-59.

Swanson, K. (1991). Empirical development of a middle range theory of caring. Nurse Research, 40(3), 161-166.

Tuckett, A., Schluter, P., Hughes, K., & Turner, C. (2009). Validation of CARE-Q in residential aged-care: Rating of importance of caring behaviours from an e-cohort sub-study. Journal of Clinical Nursing, 18(10), 1501-1509.

Valizadeh, L., Zamanzadeh, V., Azimzadeh, R., & Rahmani, A. (2012). The view of nurses toward prioritizing the caring behaviors in cancer patients. Scandinavian Journal of Caring Sciences, 1(1), 11-16. Retrieved from

https://www.researchgate.net/publication/230674745_The_View_of_Nurses_toward_Prioritizing_the_Caring_Behaviors_in_Cancer_Patients

Von Essen, L., & Sjoden, P.O. (2003). The importance of nurse caring behaviors as perceived by Swedish hospital patients and nursing staff. International Journal of Nursing Studies, 40, 487-497.

Watson, J. (2005). Caring science as sacred science. Philadelphia : F.A. Davis Co. Zamanzadeh, V., Azimzadeh, R., Rahmani, A., & Valizadeh, L. (2010). Oncology patients' and professional nurses' perceptions of important Nurse caring behaviors. BMC Nursing, 9,10. Retrieved from http//www.biomedcentral.com/1472-6955/9/10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23