ผลของโครงการสร้างสรรค์ ชวน เชิญ เลิกบุหรี่ทั่วไทย ระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • ลัดดา เหลืองรัตนมาศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
  • กัญญาวีณ์ โมกขาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
  • นิศารัตน์ ยุวพัฒนวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
  • สิริวรรณ นิรมาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
  • ปวีณา ประกาทานัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, การเลิกบุหรี่, การประเมินรูปแบบซิป

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลของโครงการส่งเสริมดำเนินงานสร้างสรรค์ ชวน เชิญ เลิกบุหรี่ทั่วไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการ “3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” ระดับอำเภอในเขตสุขภาพที่ 6 โดยประเมินรูปแบบซิป เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหารระดับจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสำหรับสนทนากับผู้ให้ข้อมูล และแบบสอบถามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์

   ผลการวิจัยในปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1) ด้านบริบท บางอำเภอมีการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการลด ละ เลิกบุหรี่ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารโครงการมีความแตกต่างกันไปในแต่ละอำเภอ บางอำเภอมีสาธารณสุขอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ แต่มีบางอำเภอที่มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานด้านบุหรี่ดำเนินการ 3) ด้านกระบวนการ ผู้ดำเนินโครงการมีแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิญชวนผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ ได้แก่ สร้างความเข้าใจที่ตรงกันในทุกระดับของผู้ปฏิบัติ การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ การสนับสนุนการสร้างบุคคลต้นแบบ ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมเลิกบุหรี่ จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลิกบุหรี่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอำเภอ และผลักดันเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการ พชอ. ส่วนผู้สมัครใจเลิกบุหรี่มีการคิดวิเคราะห์ถึงโทษพิษภัยของบุหรี่ที่มีต่อตนเองและครอบครัว ด้านผลผลิต ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยใช้กระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (M = 3.91, SD = 0.79) 4) ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่จำนวน 6,702 คน เลิกบุหรี่ได้ 3 เดือนจำนวน 898 คน คิดเป็น    ร้อยละ 13.40 แต่มี 2 อำเภอที่มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายร้อยละ 30 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินโครงการของแต่ละอำเภอสำเร็จขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละพื้นที่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร การส่งเสริมให้สร้างนวัตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ในรูปแบบต่างๆ เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ รวมไปถึงการเสริมพลังให้คณะทำงานในระดับพื้นที่ได้มีโอกาสทบทวนเป้าหมายและสิ่งที่ทำ นอกจากนี้ยังควรกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดและการประเมินผลการดำเนินงาน มีการสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นที่

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน. สืบค้นจาก http://www. quitforking.com.

ทัศนีย์ ผลชานิโก. (2559). แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับที่ 2 (ปี 2558-2562). สืบค้นจาก http://www.go.th/download/article/article_20150331170103.pdf.

นุกูล ชิ้นฟัก, นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล , คัมภีร์ ทองพูน , สุชาดา สุวรรณขา และอับดุลเราะมัน มอลอ. (2560). การประเมินผลโครงการเดิน-วิ่ง รณรงค์การไม่สูบบุหรี่และเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 4 ชิงถ้วยพระราชทาน “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 22 มิถุนายน 2560 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ประกิต วาทีสาธกกิจ. (2559). ก้าวต่อไปของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. สืบค้นจาก http://www.ashthailand.or.th/content attachment/attach/eaf29e1.pdf.

พรรณี ปานเทวัญ และอายุพร ประสิทธิเวชชากูร. (2557). การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (1), 36-44.

วิไลรัตน จิตตโคตร, สุพัฒน กองสีมา, วิไลวรรณ คมขา และรจนา สุโพธิ์. (2551). มาตรการทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสถานีอนามัยโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สมยศ ศรีจารนัย, พิชญาภัสสร์ วรรณศิริกุล, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, อรณรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา, และสมใจ นกดีวิจัย. (ม.ป.ป.). การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สืบค้นจากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Researchers%20family%20doctor.pdf

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, และอมรรัตน์ นธะสนธ์. (2562). ประเมินผลโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 10. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(1), 102- 118.

อรวรรณ สัมภวมานะ, ดวงเดือน อินทรบำรุง, ดวงหทัย ศรีสุจริต และรัชฎาภรณ เที่ยงสุข. (2559). การสังเคราะห์รูปแบบ การจัดการปัญหาบุหรี่ในระดับชุมชน. วารสารพยาบาล, 65 (1), 11-18.

อัศว์ศิริ ลาปีอี, อดิศร ศักดิ์สูง, ภาณุ ธรรมสุวรรณ, ฐากร สิทธิโชค, วรุตม์ นาฑี, และศัญฒภัท ทองเรือง. (2561). การประเมินโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” ด้วยรูปแบบ CIPP Model กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล. วารสารปาริชาติ, 5(1), 89- 102.

Prochaska, J.O. (1994). Stages and weak principles for progressing from precontemplation to action on the basis of twelve problem behaviors. Health Psychology, 13(1), 47-51.

Prochaska, J. O., & Velicer, W. F. (1997). (1997). The transtheoretical model and Stages of Change. In K. Glanz, F. M. Lewis & B. K. Rimer. Health Behavior and Health Education. (2nd ed, pp. 60-80). San Francisco : John Wiley & Sons.

Prochaska, J. O., Velicer, W. F., DiClemente, C. C., & Fava, J. (1988). Measuring processes of change: Applications to the cessation of smoking. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 56(4), 520–528.

Stufflebeam, D. L., Madam, C. F., & Kellaghan, T. (eds.) (2000). The CIPP model for evaluation in Evaluation model. Boston, MA: Kluwer Academic.

World Health Organization. (2016). Retrieved from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs339/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21