วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกับการผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพระดับปฐมภูมิ: ในยุคการปรับเปลี่ยน

-

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ชุติมา มาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ปาณิสรา - ส่งวัฒนายุทธ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

วิทยาลัยพยาบาล, บุคลากรสุขภาพระดับปฐมภูมิ, ยุคการปรับเปลี่ยน

บทคัดย่อ

   ปัจจุบันสถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางที่มีพระราชบัญญัติเป็นของตัวเองแล้วนั้น ทำให้วิทยาลัยพยาบาลที่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกมีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ การส่งเสริมให้เกิดโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตามความต้องการของชุมชน ที่จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนทั้งด้านผลิตและพัฒนาบุคลากร จากสภาพการณ์ปัจจุบันวิทยาลัยพยาบาลในสถาบันพระบรมราชชนกสามารถผลิตหลักสูตรต่างๆ ทั้งทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และการบริหาร เป็นจำนวนหลายหลักสูตรในแต่ละปี ผลิตแต่ยังไม่มีหลักสูตรเฉพาะทางด้านบริการปฐมภูมิโดยตรง บทบาทของวิทยาลัยพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกในการผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพระดับปฐมภูมิ ควรมีร่วมผลิตหลักสูตรพยาบาลให้กับหน่วยงานอื่น และด้านการพัฒนาบุคลากรสุขภาพระดับปฐมภูมิควรมีการเปิดหลักสูตรเฉพาะทาง หลักสูตรระยะสั้นหรือประกาศนียบัตรที่สอดรับกับนโยบาย

 

References

กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันพระบรมราชชนก (2562). พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

คณะทำงานขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบบริการ. (2559). แนวทางการดำเนินงาน Primary Care Cluster สำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.

นงลักษณ์ พะไกยะ, บุญเรือง ขาวนวล, พุดตาน พันธุเณร, อดุลย์ บำรุง, และธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล. (2561). ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพสำหรับระบบบริการปฐมภูมิในปี พ.ศ. 2569. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(2), 189-204.

บุญเรือง ขาวนวล, นงลักษณ์ พะไกยะประยูร,ฟองสถิตกุล สถิรกรม, พงศ์พานิชวิทยา อยู่สุขและ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2561).ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทยในทศวรรษหน้าของ วิชาชีพสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(2), 245-253.

ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย และวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. (2556). รายงานการทบทวนสถานการณ์ระบบการสร้างพัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสาธารณสุขตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2552 และ แนวโน้มในอนาคต. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2661). การประชุมชี้แจงแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) และนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นจาก https://mgronline.com/uptodate/detail/9610000094821

พงษ์ศักดิ์ นาต๊ะ, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม และรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์. (2562). การบูรณาการในระบบสุขภาพชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1),77-90.

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 165-185.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

วณิชา ชื่นกองแก้ว. (2559). ผลิต “บัณฑิตสุขภาพ” ไม่สอดรับความต้องการ เร่งยกเครื่องผลิตใหม่

รองรับศตวรรษ 21. สืบค้นจาก http://manager.co.th/Election48/ViewNews.aspx?NewsID=9590000116397

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, กฤษดา แสวงดี, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์, ศุทธินี วัฒนกูล, ดาราวรรณ รองเมือง, ศรีจันทร์ พลับจั่น, สุทธานันท์ กัลป์กะ และเบญจพร รัชตารมย์. (2560). การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2560). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2560 - 2564. นนทบุรี : กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สฤษดิ์เดช เจริญไชย, สุดคะนึง ฤทธิ์ฤาชัย, จารุณี จันทร์เพชร, โกเมนทร์ ทิวทอง และมาสริน ศุกลปักษ์. (2562). การศึกษาผลการดำเนินงาน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 13(2), 93-102.

สฤษดิ์เดช เจริญไชย, จารุณี จันทร์เพชร, สุดคะนึง ฤทธิ์ฤาชัย และโกเมนทร์ ทิวทอง. (2562). การศึกษาการรับรู้ของประชาชนต่อความสำคัญของบริการคลินิกหมอครอบครัว. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 121-133.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25