ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ ต่อความรู้ ทัศนคติ ทักษะ อสม. ในการปฏิบัติงานในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศรีอุบล อินทร์แป้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • สาคร สอนดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • เยี่ยม คงเรืองราช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วัชรีวงค์ หวังมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ชัชฎาพร จันทรสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • นิสากร เห็มชนาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • อภิญญา ดีพูน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสลักได จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การเสริมพลังอำนาจ, สมรรถนะ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

       การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและร่วมโปรแกรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อความรู้ ทัศนคติและทักษะ อสม. ในการปฏิบัติงานในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ ซี่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 80 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัยเป็นโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอสม.ตามกรอบแนวคิดการเสริมพลังอำนาจโดยใช้กรอบแนวคิดการเสริมพลังอำนาจของเทรซี และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ อสม. ในการปฏิบัติงานในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

        อสม. มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติหน้าที่อสม. หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 12.34, 17.47, 18.31 ตามลำดับ p<0.001) ดังนั้นบุคลากรที่รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของ อสม. ควรมีการศึกษา วิจัย และจัดกิจกรรมเสริมพลังอำนาจ อสม. ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ ทักษะ อสม. ในการปฏิบัติงานในชุมชนต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2560). การสาธารณสุขไทย 2559-2560. นนทบุรี: แสงจันทร์การพิมพ์.

กุนนที พุ่มสงวน. (2557). การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 58-63.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, งานบริการวิชาการ. (2561). สรุปผลการสำรวจความต้องการของชุมชนในการดูแลสุขภาพชุมชน ตำบลสลักได ปีงบประมาณ 2561. สุรินทร์: วิทยาลัย.

นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี และประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 43 (ฉบับพิเศษ): 104-115.

ดลปภัฎ ทรงเลิศ, รัถยานภิศ พละศึก และนิสารัตน์ นรสิงห์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 167-178.

ทัตติกา ฉัตรชัยพันธ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2559). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลผู้เป็นเบาหวานในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 70-82.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุลย์, วรณิช พัวไพโรจน์, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, ลัดดาวัลย์ เตชางกูร และยุพา อยู่ยืน. (2558). ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26(1), 119-132.

Tracy, D. (1990). 10 steps to empowerment: A common sense guide to managing people. New York, NY: William Morrow.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28