ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่น
คำสำคัญ:
ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ, วัยรุ่น, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่นและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่นประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดแพร่ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 6,026 คน ใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบสุ่มตามสัดส่วนหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จำนวน 508 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่น ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องมากกว่า .67 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคว์สแควร์และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นมีระดับทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 3.73, SD = 0.40) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าประเด็นที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือรู้สึกสงสารเมื่อเห็นผู้สูงอายุทำงานหนัก (M = 4.72, SD = 0.65) ส่วนมิติที่มีระดับทัศนคติที่ดีน้อยที่สุด ได้แก่ คิดว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มักเชื่อในความคิดของตนเอง (M = 2.21, SD = 1.21) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุและชั้นปีที่ศึกษา ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การสนับสนุนจากคนนอกครอบครัว การสนับสนุนจากรัฐ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนปัจจัยด้านครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้สูงอายุของวัยรุ่น
ผลจากการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นมีการออกแบบกิจกรรมการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ โดยเน้นให้วัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุน้อยและระดับการศึกษาน้อย ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการสนับที่หน่วยงานต่างๆ ได้จัดให้กับผู้สูงอายุ
References
เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2558). ทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 23(2), 55-78.
ฐิติพร สีวันนา, เบญจวรรณ นิลคง และพงษ์ศักดิ์ หมื่นศักดา. (2558). การตระหนักและเห็นคุณค่าผู้สูงอายุของวัยรุ่นไทยพุทธและไทยมุสลิม.วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(2), 191-202
ณัชชา ตระการจันทร์. (2561). ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี ใน มหาวิทยาลัยราชธานี, คณะพยาบาลศาสตร์, นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการครั้งที่ 3 (หน้า 1213-1221). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
พัชราพรรณ กิจพันธ์. (2561). ประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารอาหารและยา, 25(3), 4-8.
ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย. (2556). ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเกือบเต็มตัวแล้ว. สืบค้นจาก https://www.royalthaident.org/dentist/talk/7
วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล. (2550). สถานะของผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น. หนังสือมติชนรายวัน, 30(10779), 20.
สุริยเดว ทรีปาตี. (2554). เด็กเจเนอเรชั่นแอลฟากับการเรียนรู้. สืบค้นจาก https://educa2014.com/wp-content/uploads/2014/11/d17-29.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). เตรียมตัวให้พร้อมไว้ในวัยผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/ news/poll_elderly-1.jsp.
College of Population Studies, Chulalongkorn University. (2017). The survey of the older People in Thailand. Retrieved from https://www.cps.chula.ac.th/newcps/hot_news_detail.php?id=24
Power, B. (1992). Attitudes of young people to aging and the elderly. National Council for the Elderly. Report No. 16. Dublin, Ireland: National Council for the Elderly.
Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น