ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการเกิน รพ.สต.นาท่ามเหนือ จ.ตรัง

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • นันทยา เสนีย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • วรรัตน์ สุขคุ้ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • รุ่งฤดี อุสาหะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก, สตรีวัยผู้ใหญ่, ภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการเกิน โดยใช้ The Precede-Proceed Model เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง คือสตรีวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปี ที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของรพ.สต.นาท่ามเหนือ อ.เมือง จ.ตรัง จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งดัดแปลงจากเครื่องมือของสากล สีทากุล (2555) จำนวน 5 ส่วน มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย

            ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30 - 39 ปี (ร้อยละ 59.40) มีรายได้อยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 71.80) ดัชนีมวลกายส่วนใหญ่อยู่ช่วง 25.00 - 27.99 กก./ม2 คือเริ่มอ้วน (ร้อยละ 41.40) ทำอาหารรับประทานเอง (ร้อยละ 75.20) และประกอบอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 75.60) โดยมีผลการวิจัย ดังนี้

        1. พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีวัยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการเกินพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.17, SD = .65) ส่วนปัจจัยนำ (M = 3.89, SD = .49) ปัจจัยเอื้อ (M = 3.79, SD = .61) และปัจจัยเสริม (M = 3.75 SD = .64) อยู่ในระดับมาก

         2. ปัจจัยด้านชีวสังคม ได้แก่ อายุและรายได้ ปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคการป้องกันภาวะอ้วน ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ แหล่งจำหน่ายอาหารในชุมชน สถานที่ออกกำลังกายในชุมชน ปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนของวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางคือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ (r= .38, p<.01) ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ คือ สถานที่ออกกำลังกายในชุมชน แหล่งจำหน่ายอาหารในชุมชนและการรับรู้อุปสรรคการป้องกันภาวะอ้วน อายุ  (r = .24, p<.01, .22, p<.01 ,14, p<.01 ,13 p<.05 ตามลำดับ) และรายได้มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (r = -.29, p<.01)

     3. ส่วนตัวแปร ดัชนีมวลกาย การรับรู้ภาวะเสี่ยงของภาวะอ้วน และการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วน การรับรู้ประโยชน์การควบคุมน้ำหนัก ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการเกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะ 

          ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนของวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการเกินนั้นในชุมชนควรมีสถานที่ออกกำลังกายและแหล่งจำหน่ายอาหารสุขภาพที่เหมาะสม รวมทั้งมีบริการที่ส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และมีการช่วยเหลือในการลดหรือขจัดอุปสรรคในการป้องกันภาวะอ้วน

 

References

กมลรัตน์ ประดิษฐ์สุวรรณ. (2552) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (โภชนศาสตร์ศึกษา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย. (2557). ร้อยละของภาวะอ้วนลงพุงในประชากร 15 ปีขึ้นไป. สืบค้นจาก http://www.anamai.moph.go.th/main.php?filename=Statistics.

จำเนียร พรประยุทธ ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนากรีฑากุล. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการปฏิบัติเพื่อลดและควบคุมโรคอ้วนในประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี, วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 27(2), 1-17.

ชญานิศ เมฆอากาศ .(2560). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอ้วนลงพุงของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในจังหวัดสุโขทัย วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2554). โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นพวรรณ กิตติวัฒน์. (2557). โรคอ้วนในผู้หญิงวัยทำงาน. สืบค้นจาก www.bkk1.in.th/Attachment/.../32393.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

บุญเรือง ชัยสิทธิ์. (2551) .พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์ และสมเกียรติยศ วรเดช (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 55-65.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ. (2558). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ และอดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 33-47.

พรอินทร์ วังยายฉิม. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรสาะรณสุขในจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัสตราภรณ์ แย้มเม่น. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัย มข, 12(1), 57-56.

มธุรส บุญแสน. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

รัชดาภรณ์ แม้สิริ. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายของนิสิตที่มีภาวะอ้วน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วณิชา กิจวรพัฒน์. (2554). โรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome ภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, ปรีดา สาราลักษณ์ และจันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา. (2553). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลตรัง. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง.

วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมศักดิ์ ถิ่นขจี และพูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. (2556). พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาลัยราชพฤกษ์

สรินทร ไตรรงค์จิตเหมาะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะอ้วน อำเภอเมือง จังหวัดอุลบราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สิริลักษณ์ วินิจฉัย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการการรับรู้การเจ็บป่วยพฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์อ้วนลงพุง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สากล สีทากุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรสาธารณะสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สายสมร พลดงนอก, สรวิเชษฐ์ รัตนชัยวงศ์ และจันจิราภรณ์ วิชัย. (2558). ความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง. ขอนแก่น: หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2556). ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จ.ตรัง. สืบค้นจาก http://www.tro.moph.go.th/chronic/rep_nutri_waist3.php.

อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2553). แรงสนับสนุนทางสังคม : ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(2), 309-322.

อุมาพร พรหมหาญ. (2554). พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีวัยทำงานที่มีภาวะอ้วนในจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

Green, L. W., & Kreuter M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach (4th ed.). New York: Emily Barrosse.

Handelsman, Y. (2009). Metabolic syndrome pathophysiology and clinical presentation. Toxicologic Pathology, 37(1), 18-20.

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice. Norwalk: Appleton Century-Crofts.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29