กรณีศึกษา :

การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

ผู้แต่ง

  • กัลยรัตน์ สังข์มรรทร โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

หัวใจขาดเลือด, การพยาบาล, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

       โรคหัวใจขาดเลือดพบมากและเป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียชีวิต เป็นปัญหาทางสาธารณสุขอย่างหนึ่งของประเทศไทย คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดประมาณวันละ 450 ราย เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน แม้ว่าปัจจุบันได้มีการพัฒนาการวินิจฉัยโรครวมทั้งมียา และการรักษา ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นหลายชนิดและหลากหลายวิธีก็ตาม แต่ก็ยังพบว่าอุบัติการณ์และอัตราการหายป่วยจากโรคนี้ยังไม่ลดลง และจากการปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย อ. 14/4 ได้ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี ในปีพ.ศ. 2556 พบว่าผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดมีจำนวน 597 ราย และเป็นโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 116 ราย ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรค พร้อมทั้งสามารถนำไปดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาประวัติการดำเนินโรค การรักษา และการใช้แผนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

2.เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ในกรณีศึกษา 2 ราย โดยเปรียบเทียบความก้าวหน้าของโรค ปัญหา การพยากรณ์โรค แนวทางในการรักษา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          - ศึกษาในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย อ.14/4 โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 2 ราย

วิธีการศึกษา

          - ศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดโดยติดตามไปข้างหน้า จำนวน 2 รายโดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย อ.14/4 จากโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2556 ถึง เดือนกรกฎาคม 2556

ผลการศึกษา

          จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด 2 ราย พบว่า ผู้ป่วยรายรายที่ 1 อายุ 91 ปี  มาด้วยอาการแน่นหน้าอกหายใจหอบเหนื่อย ก่อนมา 1 ชั่วโมง ได้รับการรักษาโดยการใช้ยา การใส่เครื่องช่วยหายใจ และได้รับการดูแลตามแผนการพยาบาลทั้งหมด 6 แผน ผู้ป่วยรายที่ 2 ชายไทย อายุ 77 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการแน่นหน้าอก หอบ ก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง  ได้รับการรักษาโดยการใช้ยา การใช้เครื่องช่วยหายใจ และได้รับการดูแลตามแผนการรักษาพยาบาลทั้งหมด 6 แผน เมื่อเปรียบเทียบในกรณีศึกษา 2 ราย พบว่าผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ มีประวัติเป็นโรคหัวใจและได้รับการรักษาไม่สม่ำเสมอ ทั้งสองราย ผู้ป่วยรายที่ 2 มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังร่วมกับมีภาวะซีด ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายส่งผลต่อการรักษาทำให้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลนานกว่ารายแรก

สรุปผล

          ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด พยาบาลเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญที่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและมีความสามารถในการดูแล ประเมิน และเฝ้าระวังภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลาส่งผลให้ผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤติได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี การมีความเข้าใจในสภาวะของโรค การคัดกรองเบื้องต้น การวินิจฉัยที่รวดเร็ว การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอ็นไซม์หัวใจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการค้นหาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

References

เฉลิมศรี สุวรรณเจดีย์.(2546). คู่มือการใช้ยาและการจัดการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3.). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ชมนาดวรรณพรศิริ. (2550). การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในระบบต่างๆในร่างกาย : การประยุกต์ใช้แผนสุขภาพ เล่ม 1. นนทบุรี :โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

ณัฏฐิณี จรัสเจริญวิทยา และคณะ. (2554). ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน และคณะ. (2554). ภาวะฉุกเฉินระบบหายใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พัชรินทร์ เทพอารีนันท์. (2555). สรีรวิทยาระบบหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย วนะชิวนาวิน และคณะ.(2552).ตำราอายุรศาสตร์: โรคตามระบบ II. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สมชาย เอื้อรัตนวงศ์ และสาธิต ครูทอง. (2550).ตำราอายุรศาสตร์: การดูแลผู้ป่วยทางอายุรกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล.

สมนึก นิลบุหงา . (2555). ระบบหัวใจและการทำงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เศรษฐวัชราวนิช. (2552). อายุรศาสตร์ 2552: New Trends in Internal Medicine. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

สูงชัย อังธารารักษ์ และคณะ. (2552). อายุรศาสตร์2009(Current concepts and update treatment (3). กรุงเทพฯ: กลุ่มงาน อายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี และซิตี้พริ้นท์.

สลิล ศิริอุดมภาส. (2556). ภาวะหายใจล้มเหลว. เข้าถึงได้จาก http://haamor.com/th

อภิชาต สุคนธสรรพ์. (2553). Coronary Artery Disease. เชียงใหม่ :โรงพิมพ์ทริคธิงค์.

Siamhealth. (2556). โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน NSTEMI และ Unstable Angina. เข้าถึงได้จาก http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/acs/acs.html

Urnurse.net. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ. เข้าถึงได้จาก http://www.urnurse.net/CPG/pulmo-ventilator-care.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-21