ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับภาวะโภชนาการ ของสตรีวัยทองบ้านสลักได หมู่ที่ 1 ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะโภชนาการ, สตรีวัยทองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสตรีวัยทอง 2) เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการของสตรีวัยทอง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับภาวะโภชนาการของสตรีวัยทอง กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยทองที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี บ้านสลักได หมู่ที่ 1 ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 165 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของสตรีวัยทอง โดยพฤติกรรมด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เป็นแบบ จำนวน 35 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.84 และพฤติกรรมด้านบริโภคนิสัยเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน Chi-square
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างสตรีวัยทองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 78.20 โดยมีพฤติกรรมด้านความรู้ทางการบริโภคอาหารอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ร้อยละ 29.70,ระดับปานกลาง ร้อยละ 13.90, ระดับดี ร้อยละ 21.80 และระดับดีมาก ร้อยละ 12.70 และไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 21.80 พฤติกรรมด้านบริโภคนิสัยภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.87 ภาวะโภชนาการของสตรีวัยทองมีภาวะโภชนาการดี ร้อยละ 66.10 รองลงมามีภาวะทุพ-โภชนาการ ร้อยละ 33.90 โดยมีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 2.40, ภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานยังไม่จัดเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 29.70 และภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานจัดเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 1.80 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับภาวะโภชนาการของสตรีวัยทอง พบว่า พฤติกรรมด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p = 0.036 (p < 0.050)
References
กมล อยู่สุข.(2551).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและภาวะโภชนาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน ในสถานธรรมไท่เอวี๋ยน จังหวัดพิษณุโลก.การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมอนามัย. (2546).ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย. [Online].เข้าถึงได้จาก http://www.anamai.moph.go.th
กรมอนามัย.(2548).การเลือกซื้ออาหารพร้อมปรุง.กองสุขาภิบาลอาหาร กระทรวงสาธารณะสุข.[Online]. เข้าถึงได้จาก www.agri.ubru.ac.th
กรมอนามัย.(2550).ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลสำหรับร้านอาหาร.กรุงเทพมหานคร: กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณะสุข.
กรมอนามัย.(2551).คู่มือการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน.(พิมพ์ครั้งที่6). นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย. (2551).โภชนบัญญัติ 9 ประการ.[Online].เข้าถึงได้จากhttp://www.anamai.moph.go.th
กรมอนามัย. (2556).กรมอนามัย เผยความดัน-เบาหวาน-กระดูกและข้อ 3 โรคฮิตในวัยทอง ระดมนักวิชาการสร้างความรู้รับมือ.[Online].เข้าถึงได้จาก http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news
กรมอนามัย.(2553).สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ.[Online].เข้าถึงได้จาก http://www.hed.go.th
กรมอนามัย. กองอนามัยครอบครัว. (2543). เอกสารส่งเริมสุขภาพสตรีวัยก่อนและหลังหมดระดูเรื่องสตรีวัยหมดระดูสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรรณิการ์ พงษ์สนิท,อะเคื้อ อุณหะเลขกะ, และ ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2545).รายงานวิจัยเรื่องการเตรีมตัวเพื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนของบุคลาการหญิง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กอบจิตต์ ลิมปพยอม และคณะ. (2543).วัยหมดประจำเดือน.กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ชวลิต รัตนกุล.(2544). กินอย่างไรห่างไกลโรควัยทอง. ใน ศัยยา คงสมบูรณ์เวช(บรรณาธิการ),คู่มือคนรักสุขภาพ กินเพื่อสุขภาพ.(หน้า26). กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล ประเทศไทย.
ชิดชนก กัณกุล.(2548).พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในโรงเรียนพาณิชยการสุโขทัย.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงพร สุตสุนทร.(2546).ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพในด้านการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เทพ หิมะทองคำ.(2550).การเคี้ยวรักษาโรคอ้วนและสมองเสื่อมได้จริงหรือ.วารสารโภชนาการ,42(2), 5-6.
ธัญญธร ยงพานิช. (2551).การปฏิบัติการดูแลตนเองด้านโภชนาการและสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือน.การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโภชนศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2551).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : เอส.อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
บุญตา กิริยานันท์.(2545).ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการด้านอาหารโภชนาการ และพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงาน จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และอุตรดิตถ์.นนทบุรี : กลุ่มงานโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ประไพศรี ศิริจักรวาล.(2551).อาหารและโภชนาการกับวงจรชีวิต ใน สุนาฏ เตชางาม และชนิดา ปโชติการ(บรรณาธิการ),การประเมินตนเองสู่การเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพ (หน้า 24).กรุงเทพฯ: กลุ่มงานโภชนวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี.
พุทธชาด สงวนจันทร์.(2550).ความรู้ทางโภชนาการ การบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของครูโรงเรียนเอกชน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาโภชนศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชิต อินทร์ลำพันธ์. (2549). ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ของประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป จังหวัดสุพรรณบุรี.สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรวรรณ วิสวะกุล.(2545).พฤติกรรมการบริโภคอาหารของสตรีวัยหมดประจำเดือน ในชุมชนพัฒนากู่เต้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโภชนศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศัลยา สมบูรณ์เวช. (2551).กินอย่างไรไม่ให้อ้วน ไม่มีโรค.(พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ฃพับลิชชิ่ง.
ศุภลักษณ์ ทองนุ่น. (2552).การศึกษาความรู้ทางด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และภาวะโภชนาการของบุคลากรโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคหกรรมศาสตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สง่า ดามาพงษ์ สุจิตต์ สาลีพันธ์ และแสงโสม ลีนะวัฒน์.(2550).ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย.วารสารชมรมนักกำหนดอาหาร, 2-25(รวมเล่ม), 5-10
สุเทพ เพชรมาก. (2550).คลินิกคนไทยไร้พุง ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ต้องการลดรอบเอว.[Online].เข้าถึงได้จากhttp://hpc 5.anamai.moph.go.th.
สุมาลี ทองแก้ว และวลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์. (2546).อาหารสตรีวัยหมดประจำเดือน.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : บ้านปัญญา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552).การสำรวจพฤติกรรมการดูสุขภาพของประชากรพ.ศ. 2552(พฤติกรรมการบริโภคอาหาร).[Online].เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2540).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8(พ.ศ. 2540-2544).[Online].เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ. 2550-2554).[Online].เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น