การศึกษาแนวทางการป้องกันการเสพสุราในงานเทศกาลงานช้างและกาชาด จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ คณึงเพียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • อรนุช ประดับทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • สุขุมาล แสนพวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • กรวรรณ ผมทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ฝนทอง จิตจำนง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ปิ่นมณี ทะเรรัมย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การเสพสุรา, การป้องกัน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการป้องกันการเสพสุราในงานเทศกาลงานช้างและกาชาดจังหวัดสุรินทร์   เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ผู้มาเที่ยวชมเทศกาลงานช้างและกาชาดระหว่างวันที่ 8–24 พฤศจิกายน 2556 จำนวน 213 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งมีโครงสร้างคำถามที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญรวม 2 ตอนดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม   2. ความคิดเห็นต่อแนวทางการป้องกันเสพสุราในงานเทศกาลงานช้างและกาชาดจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญและหาค่าสัมประสิทธิ์คอนบราค = 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาจำนวนและร้อยละของข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถามและหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นต่อแนวทางการป้องกันเสพสุราในงานเทศกาลงานช้างและกาชาดจังหวัดสุรินทร์

          ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 64 (N=130 คน) อายุระหว่าง  21–25 ปี คิดเป็นร้อยละ 19.2  (N=39 คน) การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 49.8  (N = 101 คน) และประกอบอาชีพอิสระ คิดเป็นร้อยละ 28.1 ( N = 57 คน) สำหรับความคิดเห็นต่อแนวทางการป้องกันเสพสุราในงานเทศกาลงานช้างและกาชาดจังหวัดสุรินทร์ควรมีการบังคับใช้  กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง mean = 4.4 S.D =0.87 รองลงมา รณรงค์ ละเลิกสุรา mean = 4.26 S.D = 0.85 และต้องมีการตรวจการพกพาอาวุธอย่างละเอียดทุกจุดก่อนเข้างาน mean = 4.13 S.D = 0.89 ตามลำดับ

        ข้อเสนอแนะ นำไปใช้ในการพัฒนาการป้องกันการเสพสุราในเทศกาลงานช้างในปีต่อไป และต่อยอดการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสพสุรา

References

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล.(2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษาชายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์ (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล.

โกศล วงค์สวรรค์และสถิต วงค์สวรรค์.(2543).ปัญหาสังคมไทย.กรุงเทพฯ :รวมสาส์น.

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สสส. (2556). การควบคุมการบริโภคสุรา.เข้าถึงได้จาก http://resource.thaihealth.or.th/taxonomy/term/1042

จิราภรณ์ เทพหนู. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญศึกษาในจังหวัดพัทลุง.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วีรศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์และวงศ์นิศานติ์ สำอางศรี. (2544). การเปลี่ยนสลากสุราที่ฟิลิปปินส์ที่เป็นเขต AFTA เพื่อรับการลดหย่อนภาษี.เข้าถึงได้จาก http://cas.or.th/index.php/alcoholdb/read/74

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2551). การประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 4 ยุติปัญหาวิกฤติปัญหาสุราด้วยกฎหมาย. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-04