เมื่อฉันต้องเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย (Caregiver)

ผู้แต่ง

  • สุพิตรา เศลวัตนะกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

บทคัดย่อ

          ถ้าหากคนเราเลือกได้  คิดว่าแทบทุกคนคงไม่เลือกที่จะเป็นคนไข้ติดเตียง  หรือไม่อยากให้บุคคลอันเป็นที่รักยิ่งในครอบครัวเป็นคนไข้ติดบ้านติดเตียง  การเป็นคนไข้ติดเตียงนั้นโดยส่วนมากจะมีภาพของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังร่วมด้วยเสมอ  หรือถ้าไม่เป็นโรคเรื้อรังก็เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด  คนไข้จึงมีความจำเป็นต้องดูแลตนเองเป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชีวิต  ผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต้องทุกข์ทรมานด้วยอาการเจ็บป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  และมีผลเสียต่อสุขภาพซึ่งหมายถึงผลเสียทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม นอกจากผลเสียที่เกิดต่อสุขภาพคนไข้แล้วยังพบว่าสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน  ความสามารถในการทำงาน  การประกอบอาชีพ  และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตต้องเปลี่ยนไป และยังมีผลกระทบกับคนในครอบครัว  ญาติมิตรในการดูแล การปรับเปลี่ยนบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการเป็นผู้ดูแลคนไข้ หรือผู้ดูแลผู้ป่วย (Caregiver)  และวันหนึ่งได้มาถึงตามวิถีของชีวิตของคน เมื่อผู้เขียนต้องดูแลมารดาที่เจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมีอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น รวมทั้งเป็นผู้สูงอายุ วัย 86 ปี ผู้เขียนในฐานะลูกและผู้ดูแลผู้ป่วย (Caregiver) จะทำอย่างไรที่จะดูแลแบบประคับประคอง ให้การรักษาเยียวยา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น และฟื้นฟูสภาพเพื่อให้แม่ได้มีกำลังใจที่ดี เข้าใจและยอมรับในความเจ็บป่วย สามารถใช้ชีวิตบั้นปลายได้อย่างที่เรียกว่า“สุขตามอัตภาพ”

References

สันต์ ใจยอดศิลป์ (2553). การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver) เข้าถึงได้จาก http://visitdrsant.blogspot.com/2010/07/caregiver.html.online

อรอนงค์ กูลณรงค์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์ และลัพณา กิจรุ่งโรจน์. (2555). ความพร้อมในการดูแลสัมพันธภาพในครอบครัวและความเรียดในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดสมอง .วารสารนราธิวาสราชนครินทร์, 4 (1), 14-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-03