การพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อก
คำสำคัญ:
ไข้เลือดออก, ภาวะช็อกบทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหา
โรคไข้เลือดออกช็อกเป็นภาวะวิกฤตของผู้ป่วย เนื่องจากมีผลทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว เกล็ดเลือดเสียหน้าที่การแข็งตัวของเลือดช้า เกิดการสูญเสียเลือดจำนวนมาก เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การประเมินภาวะช็อกได้อย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการดำเนินโรค ปัญหาสุขภาพ การรักษาพยาบาลและผลการรักษาพยาบาล ในรายกรณีนี้ นำผลการศึกษามาใช้ประกอบเป็นองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ในรายต่อไป
กรณีศึกษาและสถานที่
คัดเลือกจากประชากรเด็กป่วยแบบเจาะจง 1 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไข้เลือดออกช็อกที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมอาคาร 6 ชั้น 3 โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเป็นรายกรณี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 5 – 12 กันยายน 2556
ผลการศึกษา
เด็กชายไทยวัยรุ่นมาด้วยอาการมีไข้สูง 3 วัน ซึม อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อย อ่อนเพลีย เมื่อเข้ารับการรักษาได้ 2วัน มีอาการไข้ลด ชีพจรเบาเร็ว Pulse pressure แคบ 20 mm.Hgเข้าสู่ภาวะช็อก ได้รับการรักษาให้สารน้ำ 5% DSS ตามภาวะช็อกวันที่ 3 ของการเข้ารับการรักษามีภาวะเลือดออกและสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมากเนื่องจากมีเกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ได้รับสารน้ำ 9% NSS เพื่อทดแทนเลือดได้รับยา Vit K, Ranidine, ทำ Nasal packing เพื่อรักษาภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและอวัยวะอื่นๆและมีอาการเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนทางสมอง (Hepatic encephalopathy) ได้รับยา Meropenam, 10% Calcium gluconateเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อ ปัญหาสุขภาพคือ ระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว สูญเสียเลือดออกจากร่างกายและมีโอกาสสูญเสียเลือดเพิ่มขึ้นอาการทางสมองจากโรคตับ ไข้สูงจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก พร่องสารอาหารสารน้ำและเกลือแร่ ไม่สุขสบายจากการคัน ได้รับการพยาบาลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ต่อมาอาการดีขึ้นและจำหน่ายกลับบ้านรวมรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล 8 วัน
สรุป
โรคไข้เลือดออก มีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลงร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิดช็อก หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับสารน้ำอย่างเหมาะสม และมีภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆเกิดขึ้นได้ เช่น ตับวาย ไตวาย สมองทำงานผิดปกติ บุคลากรในทีมต้องมีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถเฉพาะ วางแผนให้การพยาบาลและติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้รับการแก้ไขภาวะช็อกและภาวะแทรกซ้อนได้ทันท่วงที
References
ดารุณี จงอุดมการณ์. (2546). ปวดในเด็ก: การพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง.ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริออฟเซ็ท.
ปราณี ทู้ไพเราะ. (2550). คู่มือยา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : N P Press Limited Partnership
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2550). การพยาบาลเด็ก เล่ม 2.(พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี : ยุทธรินทร์การพิมพ์
เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสงโมไนยพงศ์. (2550). คู่มือตรวจผู้ป่วยนอก.(พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง
รุจา ภู่ไพบูลย์. (2552). แนวทางการวางแผนการพยาบาลเด็ก.กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ
สมจิต หนุเจริญกุล. (2544). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพมหานคร: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
เสรี ตู้จินดา, สุจิตรา นิมมานนิตย์, ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, และคณะ. (2548). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานระบาดวิทยา. งานระบาดวิทยา. (2555). ข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก DF+DHF+DSS.เข้าถึงได้จาก http://dhf.ddc.moph.go.th/2555.html
Ranjit, S., Kisson, N., &Jayakumar, I. (2006). Aggressive management of denque shock syndrome may decrease mortality rate: A suggest protocol. Pediatric Critical Care Medicine, (4), 412-419.
Kittikul, L., Pitakarnjanakul, P., Sujirarat, D.,&Siripanichgon, K. (2007). The difference of clinical manifestations and laboratory findings in children and adults with denque virus infection.Journal of Clinical Virology, 39, 76-81.
Kathyn, S. (2007).Denquefever : What hope for control? The Lancet, 7(10), 636.Retreived from http://www.thelancet.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น