ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • นพพร อารีย์วัฒนานนท์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในชุมชน พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกรุงศรีนอก  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในชุมชน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับความต้องการด้านจิตวิญญาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกรุงศรีนอก กลุ่มตัวอย่างเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยวิธีของ Taro Yamane (1967) ได้เสนอสูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างสัดส่วน 1 กลุ่มโดยสมมติค่าสัดส่วนเท่ากับ 0.5 และที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวนขนาดตัวอย่าง 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนคือข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.87 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 31 มีนาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบการกระจายตัวของข้อมูล สหสัมพันธ์อย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการด้านจิตวิญญาณ 3 ด้าน ได้แก่ ความต้องการด้านการมีความหมายและเป้าหมายของชีวิตมีค่าเฉลี่ยระดับความต้องการอยู่ในระดับมาก ( x= 2.21, S.D. = 0.54) ความต้องการด้านการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิ่งอื่น สิ่งแวดล้อม สิ่งนอกเหนือตนมีค่าเฉลี่ยระดับความต้องการอยู่ในระดับมาก (x = 2.08 , S.D. = 0.57) ความต้องการด้านการมีความหวัง มีค่าเฉลี่ยระดับความต้องการอยู่ในระดับมาก ( x= 2.15 , S.D. = 0.63) เมื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของความต้องการแต่ละด้านพบว่า ความต้องการด้านจิตวิญญาณด้านที่ 1 คือ ความต้องการด้านการมีความหมายและเป้าหมายในชีวิต มีความสัมพันธ์กับรายได้ ความคาดหวังในการหายจากการเจ็บป่วย และความต้องการด้านการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิ่งอื่น สิ่งแวดล้อม สิ่งนอกเหนือตน ความต้องการด้านจิตวิญญาณด้านที่ 3 คือความต้องการด้านการมีความหวัง มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านการมีความหมายและเป้าหมายในชีวิตและความต้องการด้านการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิ่งอื่น สิ่งแวดล้อม สิ่งนอกเหนือตน

 

 

 

 

 

References

เฉลียว พัฒนกูล และสุดา วิไลเลิศ. (2542). การพยาบาลไทยในระยะเปลี่ยนสู่ศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคเอดส์วันที่ 1-6 พฤศจิกายน 2542. กรุงเทพมหานคร : สมาคมพยาบาลและสภาการพยาบาล.

ประเวศ วะสี. (2544). สุขภาวะทางจิต : สุขภาวะทางจิตวิญญาณ. หมอชาวบ้าน, 22 (261), 41-46.

ประเวศ วะสี. (2546). บนเส้นทางชีวิต. หมอชาวบ้าน, 24 (283), 2-8.
วงรัตน์ ใสสุข. (2544). ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ และการปฏิบัติเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

ยุวดี เกตสัมพันธ์. (2543). แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม. ใน จงจิตต์ คณากูล (บรรณาธิการ), ภาวะวิกฤตในหออภิบาล การบำบัดรักษาพยาบาล เล่ม 2 (หน้า1-7). กรุงเทพมหานคร :
ศิริยอดการพิมพ์ (ประเทศไทย).

ละเอียด ภักดีจิตต์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังกับพฤติกรรมการเผชิญภาวะเครียดในผู้ป่วยมะเร็งรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส). (2546). จากสุขภาพทางจิตวิญญาณสู่สุขภาพทางปัญญา. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

Highfield, M.F. (1992). Spiritual health of oncology patient : Nurse and patietperapective. Cancer Nursing. 15 (1), 1-8.

Merravigia, M. G. (1999). Critical analysis of spirituality and its empirical indicators : Prayer and meaning in life. Journal of Holistic Nursing, 17, 18-33.

Reed, P. G. (1991). Spirituality and mental health in older adults :Eztanknowledge for nursing. Family Community Health, 14(2), 14-25.

Yuriek, A.G., Robb, S.S., &Spier, B.E. (1980).The Aged Person and Nursing Process.New York : Appleton-Century-Crofts.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-03