พฤติกรรมการจัดการความปวดตามการรับรู้ของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ทิมาสาร โรงพยาบาลสุรินทร์
  • สุดารัตน์ รับงาม โรงพยาบาลสุรินทร์
  • อุไรวรรณ เวณัธม์ โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการความปวด, ผู้ป่วยเด็ก, ไส้ติ่งอักเสบ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : ความปวดจากการผ่าตัดเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ภาวะสุขภาพ บุคคลจะแสดงพฤติกรรมในการจัดการความปวดแตกต่างกัน ผู้ป่วยเด็ก ส่วนใหญ่จะมีการจัดการความปวดโดยการแสดงออกทางพฤติกรรมตามการรับรู้ที่หลากหลาย ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นหายของโรคตามมา

วัตถุประสงค์  :  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการความปวดตามการรับรู้ของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการความปวดตามการรับรู้จำแนกตามปัจจัยต่างๆ ของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ

วิธีการศึกษา :   การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการความปวดและเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการความปวดตามการรับรู้จำแนกตามปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8-15 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบในหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็ก อาคาร 14/4 โรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 156 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ T-test และ F-test 

ผลการศึกษา    จากการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.5 มีอายุระหว่าง 11-15 ปี  ร้อยละ 69.2 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่เคยได้รับการผ่าตัดและไม่เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความปวด จากการสำรวจผู้ป่วยเด็กเกี่ยวกับการรับรู้ต่อความปวด พบว่า ผู้ป่วยเด็กมีการรับรู้ต่อความปวดในระดับมากที่สุด จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ความปวดเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีร้อยละ 32.7 ผู้ป่วยเด็กรู้สึกสงสาร เมื่อเห็นผู้ป่วยเด็กที่อยู่ข้างเตียงร้องไห้จากความปวดที่เกิดจากการเจาะเลือด ฉีดยาหรือทำหัตถการอื่นๆ ร้อยละ 32.0 การทำหัตถการเมื่อไม่มีบิดามารดาหรือผู้ดูแลอยู่ด้วยจะทำให้ผู้ป่วยเด็กมีความปวดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.7 การรับรู้ว่าความปวดเป็นสิ่งที่น่ากลัวร้อยละ 28.7 ความปวดทำให้เกิดความท้อแท้ ทุกข์ และทรมานร้อยละ 27.2 และความปวดเป็นสิ่งที่บรรยายไม่ได้ ร้อยละ 24.6  พฤติกรรมการจัดการความปวด  2 อันดับแรก คือ นอนนิ่งๆเคลื่อนไหวร่างกายน้อยที่สุดร้อยละ 50 รองลงมาคือใช้มือประคองแผลขณะเคลื่อนไหว ร้อยละ 42 เมื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมการจัดการความปวดจำแนกตามปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เพศ อายุ บุตรลำดับที่ จำนวนพี่น้อง การเลี้ยงดู และรายได้ของผู้ปกครองพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

สรุป   พฤติกรรมการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นหายจากโรค ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เด็กและผู้ดูแล รวมทั้งให้การจัดการเพื่อบรรเทาความปวดแก่เด็กด้วยวิธีที่ถูกต้องต่อไป

References

กรวี ฟูเต็มวงค์. (2548). การจัดการอาการปวดและผลลัพธ์ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต,สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดารุณี จงอุดมการณ์. (2545). หน่วยที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีความปวด. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา51207 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดารุณี จงอุดมการณ์. (2546). ปวดในเด็ก: การพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

บังอร เผ่าน้อย. (2548).ประสิทธิผลของการจัดการอาการปวดหลังผ่าตัดตามมาตรฐานทางคลินิก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรบล กนกสุนทรรัตน์. (2535).การรับรู้ความเจ็บปวดและวิธีการบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงพยาบาลสุรินทร์. กลุ่มการพยาบาล. หอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็ก. (2554).Service Profile งานหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็ก.สุรินทร์ : ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสุรินทร์.

วัชราภรณ์ หอมดอก. (2548).การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ส่องศรี หล้าป่าซาง.(2551).การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยเด็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Allcock, N. (1996). Factors affecting the assessment of postoperative pain : a literature review. Journal of advanced Nursing, 24 (26), 114-151.
Ekman, E., &Koman, A. (2004).Acute pain following musculoskeletal injuries and orthopaedic surgery.The Journal of Bone and Joint Surgery, 20(86), 1311-1324.

McCaffery, M. (1979).Nursing management of the patient with pain.Philadelphia :J.B.Lippincott.

Wilkie, D.J. (2000). Nursing management pain. In Lewis , S.M. , Heitkemper , M.M., Dirksen, S.R. (editors). Medical-Surgical Nursing Assessment and Management of Clinical Problems. (5th ed., p. 126-154). St. Louis : Mosby.

Wood, S. (2002). Pain week I : Foundation epidemiology and disease process, anatomy and physiology, sign and symptom. Nursing Times, 98 (38), 41-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-03