การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก
คำสำคัญ:
การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด, ภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหา
ทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายและอัตราการตายสูงกว่าทารกครบกำหนด เสี่ยงต่อภาวะหายใจลำบาก ภาวะตัวเหลือง ภาวะซีด ภาวะหลอดเลือดที่หัวใจไม่ปิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะโรคปอดเรื้อรัง ภาวะลำไส้เน่าเปื่อย ภาวะพร่องในการมองเห็น ภาวะพร่องในการได้ยินอีกทั้งได้รับผลกระทบจากการเกิดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาทั้งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆทำให้ล่าช้ารวมทั้งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างและอวัยวะต่างๆส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยความพิการและอาจถึงชีวิตได้ภายหลัง
วัตถุประสงค์การศึกษา :
- เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค ปัญหาสุขภาพ การรักษาพยาบาลและการวางแผนจำหน่าย
- นำผลการศึกษา เป็นองค์ความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยรายต่อไป
กรณีศึกษาและสถานที่ : คัดเลือกจากผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก รับการรักษาในหอผู้ป่วยแรกเกิดวิกฤติและทารกแรกเกิดป่วย อาคาร 6 ชั้น 1 โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา : กรณีศึกษา
ผลการศึกษา :
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะภาวะหายใจลำบาก อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ฝากครรภ์ 5 ครั้ง คลอดเองทางช่องคลอด น้ำหนักแรกเกิด 770 กรัม เพศหญิง Apgar score 1,5,10 นาที เท่ากับ 4,7,7 คะแนน แรกเกิดมีอาการเขียวคล้ำทั้งตัว อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ช่วยหายใจแรงดันบวก ใช้เครื่องช่วยหายใจ พบภาวะแทรกซ้อนได้แก่การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ ตาตัวเหลืองได้รับการส่องไฟรักษา ซีดได้รับเลือด มีภาวะหยุดหายใจ เกิดภาวะปอดเรื้อรังหย่าออกซิเจนไม่ได้ นอนโรงพยาบาลรวม 92 วัน กรณีศึกษาที่ 2 อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ฝากครรภ์ 6 ครั้ง คลอดเองทางช่องคลอด น้ำหนักแรกเกิด 1,490 กรัม เพศชาย Apgar score 1,5,10 นาที เท่ากับ 8,9,10 คะแนน ใส่nasopharyngeal prongs และใช้เครื่องช่วยหายใจ มีภาวะซีดได้รับเลือด เลือดออกในปอด ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว respiratory acidocis พบภาวะแทรกซ้อนได้แก่การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เสียภาวะสมดุลกรดด่างในร่างกายตาตัวเหลืองได้รับการส่องไฟรักษา มีภาวะหยุดหายใจ เกิดภาวะปอดเรื้อรังหย่าออกซิเจนไม่ได้ พบภาวะ ROP stage 2 พบพังผืดใต้ลิ้นจึงตัดพังผืดใต้ลิ้นโดยศัลยแพทย์เด็ก นอนโรงพยาบาลรวม 96 วัน
สรุป :
ทารกเกิดก่อนกำหนดมีน้ำหนักน้อยร่วมกับการมีภาวะหายใจลำบากและหายใจล้มเหลวเป็นภาวะวิกฤต ผู้ดูแลต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะเฉพาะด้านและการดูแลผู้ป่วยร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพจะช่วยลดอุบัติการณ์ของความพิการและภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ทำให้ทารกมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
จงจิตต์ คณากูล, ปรีดาภรณ์ สีปากดี และประชิด ศราธพันธ์. (2543). ภาวะวิกฤตในหออภิบาลการบำบัดรักษาพยาบาล เล่ม 1. กรุงเทพฯ : ศิริยอดการพิมพ์.
ธราธิป โคละทัต และ สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. (2542). Neonatology for Pediatricians. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีพรั่ง.
วิไล ราตรีสวัสดิ์และสุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์. (2540). ปัญหาทารกแรกเกิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ดีไซร์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์. (2543). คู่มือการใช้ยาสำหรับพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 10). เชียงใหม่ : ธนบรรณการพิมพ์.
รัชตะวรรณ โอฬาพิริยกุล. (2544). การพยาบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ : เท็กซ์แอนเจอร์รัลพับลิเคชั่น.
รุจา ภู่ไพบูรณ์. (2541). แนวทางการวางแผนการพยาบาลเด็ก. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณการ.
วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์ และสุรางค์ เจียมจรรยา.(2540). ตำรากุมารเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.
วัลลี สัตยาศัยและจักรชัย จึงธีรพานิช. (2545). ตำรากุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ : บุ๊คเน็ท.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2552). กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล.กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. (2549). Essential Neonatal Problem. กรุงเทพฯ : ธนาเพรสแอนด์ กราฟฟิค.
สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. (2546). Preventive Measures in Neonatal Care. กรุงเทพฯ : ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.
สุกัญญา ทักษพันธ์. (2545). คู่มือทารกแรกเกิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. (2550). Neonatology. กรุงเทพฯ : ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.
สุภารัตน์ ไวยชีตา, ธิตดา ชัยศุภมงคลลาภ และวรรณา คงวิเวกขจรกิจ. (2549). New Trend in Pediatric Critical Care Nursing. กรุงเทพฯ : ดีไซร์.
Lyon, A. (2007). Temperature control in neonate. Pediatric and child health, 18 (4),155-160
Wong, D.L., Hess, C.S. (2000). Clinical manual of pediatric nursing. Philadelphia : Mosby.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น