การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกสมองที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะโดยได้รับการระงับความรู้สึกดมสลบ

ผู้แต่ง

  • บวรวรรณ นาคลำภา งานวิสัญญีพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

การดมสลบ, การทำผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ, เนื้องอกสมอง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์

         เพื่อรายงานการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกสมองที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะโดยได้รับการระงับความรู้สึกดมสลบ (Nursing care of brain tumor patients who received general anesthesia) จำนวน 2 ราย

รูปแบบการศึกษา

         กรณีศึกษาผู้ป่วยในระยะเวลาตั้งแต่ 17 มีนาคม 2557 – 17 ตุลาคม 2557

ผลการศึกษา

        ผู้ป่วย 2 ราย มีความผิดปกติจากการมีเนื้องอกในสมองพยาธิสภาพของโรคทำให้เริ่มมีความพิการทางด้านร่างกาย และก่อความกังวลใจทั้งผู้ป่วยและญาติ และได้รับการทำผ่าตัดทั้ง 2 ราย ผู้ป่วยรายที่ 1 มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสูงอายุและโรคประจำตัว ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 เสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยากเพราะมีลำคอสั้น  

ภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยรายแรกมีโอกาสเกิดภาวะ Bleeding จากแผลและภาวะความดันโลหิตสูงและ มีภาวะ Hydrocephalus ต้องเข้ารับการผ่าตัดครั้งที่ 2 มีไข้ ไอมีเสมหะสีเขียว ได้รับยาปฏิชีวนะ 2 สัปดาห์ จึงกลับบ้านได้ ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ไม่มีภาวะแทรกซ้อน พักฟื้นแล้วกลับบ้านได้

สรุป

         ผู้ป่วยทั้งสองรายมีความแตกต่างกันทั้ง เพศ อายุ การศึกษา และอาการเจ็บป่วย การดูแลสุขภาพ  เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ชนิดของเนื้องอก ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ และมีภาวะซีดขณะทำผ่าตัดเหมือนกัน และการพยากรณ์โรคดีทั้ง 2 ราย

References

เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์และคณะ. (2556). สาระหลักทางการพยาบาลศัลยศาสตร์เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก (2553). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่12). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

จเร ผลเจริญ. (2552). ประสาทศัลยศาสตร์ : กรุงเทพฯ เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์ จำกัด.

ชวนพิศ วงศ์สามัญ และกล้าเจริญ โชคบำรุง. (2556). การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์ และคณะ. (2554). ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์.

ธิดา เอื้อกฤดาธิการ. (มปป.). การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดสมอง. เข้าถึงได้จาก http://medinfo2.psu.ac.th/anesth/ New%201511/neuro_Anes.pdf

นงเยาว์ สมพิทยานุรักษ์. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤนาท โลมะรัตน์. (2556). การบริหารยาระงับความรู้สึกสำหรับผู้สูงอายุ. ใน อังกาบ ปราการรัตน์ และคณะ (บรรณาธิการ). ตำราวิสัญญีวิทยา (หน้า 557-569). กรุงเทพ : เอพลัสปริ้น.

นัทธมน วุทธานนท์. (2554). การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกศัลยกรรม (พิมพ์ครั้งที่1). เชียงใหม่ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นุชนารถ บุญจึงมงคล. (2552). การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. ใน วรวุธลาภพิเศษพันธ์ (บรรณาธิการ).การระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับการผ่าตัดที่ไม่ใช่การผ่าตัดหัวใจ (หน้า32). เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์จำกัด.

เพ็ญแข เกตุมาน. (2555). การให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. ใน อังกาบ ปราการรัตน์ และวรภา สุวรรณจินดา (บรรณาธิการ). ตำราวิสัญญีวิทยา.กรุงเทพ : เรือนแก้วการพิมพ์.

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2553). วิสัญญีวิทยาทันยุค แนวทางปฏิบัติ : กรุงเทพ : วงศ์กมล โปรดักชั่นจำกัด.

มีชัย ศรีใส. (2552). ประสาทกายวิภาคศาสตร์.กรุงเทพฯ สินประสิทธิ์การพิมพ์.

ยศ ทับเป็นไทย.(2545).ภาวะแทรกซ้อนระหว่างดมยาสลบ. วิสัญญีวิทยาทันยุค แนวทางปฏิบัติ (หน้า147- 161). กรุงเทพฯ : วงศ์กมล โปรดักชั่นจำกัด.

เรณู อาจสาลี. (2550). การพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัด Periopperative Nursing พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เอ็น พี เพรส จำกัด.

วรุณยุพา รอยกุลเจริญ. (2551). ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยในห้องผ่าตัด. วารสารสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย, 1, 61-65.

วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2556). กลีบสมอง. วันที่ค้นข้อมูล. 25 กุมภาพันธ์ 2558, เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/กลีบสมอง

วิชัย อิทธิกุลฑล. (2557). ตำราการระงับความรู้สึกประสาทศัลยศาสตร์. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอนเตอร์ไพรซ์ จำกัด.

วุฒิชัย ธนาพงศธร.(2554). ตำราพื้นฐานศัลยศาสตร์และอาการของโรคศัลยกรรม.สมุทรปราการ : สินทวีกิจ พริ๊นติ้ง.

วิรัตน์ วศินวงศ์. (2556). คู่มือหัตถการทางวิสัญญี. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

วลัยพร พันธ์กล้า. (2554). ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

วลัยพร พันธ์กล้า. (2556). การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดสมอง. ใน อังกาบ ปราการรัตน์ และคณะ (บรรณาธิการ). ตำราวิสัญญีวิทยา (หน้า 417- 439). กรุงเทพ : เอพลัสปริ้น.

ศิริวรรณ จิรสิริรรม. (2556). การเตรียมตัวก่อนการดมยาสลบ. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอนเตอร์ไพรซ์ จำกัด.

สถาบันประสาทวิทยา. (2557). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 1 ปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สมพร ชินโนรส. (2557). การพยาบาลศัลยศาสตร์เล่ม 3. กรุงเทพฯ : รำไพเพรส จำกัด

อังกาบ ปราการรัตน์และคณะ. (2556). ตำราวิสัญญีวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาตร์ศิริราชพยาบาล.

อัตถพร บุญเกิด. (มปป.). โรคเนื้องอกสมอง. เข้าถึงได้จาก http://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/.../4.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-03