ผลของการนวดหลังต่อการเจ็บครรภ์คลอดของผู้คลอดที่แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ้ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ศีตรา มยูขโชติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การเจ็บครรภ์คลอด, การนวดหลัง, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดหลังต่อระดับการเจ็บครรภ์คลอดของหญิงในระยะคลอดที่แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงที่มาคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์ ทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างละ 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบวัดระดับการเจ็บครรภ์คลอด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบระดับการเจ็บครรภ์หลังการให้การพยาบาลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Analysis of Co-Variance โดยใช้ตัวแปรคะแนนการเจ็บครรภ์ก่อนการให้การพยาบาล และการเปิดขยายของปากมดลูก เป็นตัวแปรร่วม (co-variance)  

          กลุ่มควบคุมมีอายุครรภ์เฉลี่ยเมื่อมาคลอดน้อยกว่ากลุ่มทดลอง นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อเริ่มต้นให้การพยาบาลกลุ่มควบคุมมีการเปิดขยายของปากมดลูกมากกว่ากลุ่มทดลอง แต่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการเจ็บครรภ์คลอดในระยะก่อนการนวดหลังเท่ากับ 5.56 (SD = 1.50) ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.29 (SD=2.00) โดยที่คะแนนเฉลี่ยภายหลังการนวดหลังในกลุ่มทดลองเท่ากับ 6.47 (SD=1.81) ส่วนกลุ่มควบคุมเท่ากับ 6.01 (SD=2.19) และกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความพึงพอใจต่อการให้บริการมากกว่ากลุ่มควบคุมแต่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

         เปรียบเทียบคะแนนการเจ็บครรภ์คลอดก่อน-หลังการนวดหลังในกลุ่มทดลอง พบว่าภายหลังการนวดหลังกลุ่มทดลองมีคะแนนการเจ็บครรภ์เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 ภายหลังการควบคุมคะแนนเฉลี่ยของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนการให้การพยาบาล (pre-test) กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการเจ็บครรภ์หลังการให้การพยาบาล (post-test) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=.56 แต่ภายหลังการควบคุมการเปิดขยายของปากมดลูกกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการเจ็บครรภ์หลังการให้การพยาบาล (post-test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05

         ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยคือถึงแม้ว่าการนวดหลังไม่ได้มีผลต่อการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดแต่ให้ผลในการให้การดูแลด้านจิตใจ ดังนั้นยังต้องมีการให้การพยาบาลด้วยการนวดหลังแก่ผู้คลอดเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการให้การดูแลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช้ยา

 

References

จันทร์เพ็ญ ดุษิยามี, อธิษฐาน ชินสุวรรณ, ปราณี ธีรโสภณ. (2543). ผลของเทคนิคการผ่อนคลายด้วยจิตคลุมกายต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและผลลัพธ์ของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกที่มีผู้ช่วยเหลือในระยะคลอด. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออก, 26-37

จินตนา บ้านแก่ง. (2533). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเจ็บปวดในระยะคลอด. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

ฉวี เบาทรวง และ สุพิศ รุ่งเรืองศรี. (2537). ผลของการสัมผัสต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและการรับรู้ประสบการณ์คลอด.21(4):18-24.

ชนรรทร พร้อมทรัพย์สิน. (2549). ประสิทธิผลของโปรแกรมการนวดต่อการเผชิญความเครียดและความเจ็บปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชญานิน บุญพงษ์, โสเพ็ญ ชูนวล, และ เยาวเรศ สมทรัพย์. (2548). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในสตรีระยะคลอดต่อภาวะจิตใจ พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและผลลัพธ์ของการคลอด. สงขลานครินทร์เวชสาร, 23 (1), 37-47.

ธนาพร กิตตเสนีย์ , เอมพร รตินธร, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ และ สมชัย โกวิทเจริญกุล .(2555). ผลของการกดจุด LI 4 และ SP 6 ต่อความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 35(3), 68-77.

เบญจรัตน์ ยศเสถียร, ลำดวน คุณสมบัติ, สุนทรี อินทราพิเชฐ, และอารยา ประกฤตกรชัย. (2542). ผลของการเตรียมคลอดอย่างมีแบบแผนต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ระยะของการคลอด และคะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิดของสตรีตั้งครรภ์ในระยะคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 17(2), 54-63.

ประทุมพร เพียรจริง, ละมัย วีระกุล, บุษยา ยารังสี, ผกา สุขเจริญ, และ สุทธิพร พรมจันทร์. (2544). ผลของโปรแกรมการเตรียมคลอดต่อความรู้และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดในมารดาครรภ์แรก. วารสารสภาการพยาบาล, 16(3), 25-35.

ประภาศรี เกิดเกรียงไกร. (2535). การพยาบาลมารดาในระยะคลอด. ขอนแก่น : ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรณิภา ทองณรงค์. (2537). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ต่อความผูกพันระหว่างมารดาและมารกหลังคลอด ณ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 6 ขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิริยา ศุภศรี. (2535). การพยาบาลในระยะคลอด. สงขลา : ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ นรีเวชและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. (2551). การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.

รสสุคนธ์ ลิ้มทะวงศ์. (2530). ผลการเตรียมคลอดด้วยวิธีของลามาชต่อพฤติกรรม การเผชิญความเจ็บปวดของมารดาในระยะคลอด และสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ละมัย วีระกุล. (2534). เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดระหว่างมารดาที่ได้รับการฝึกเตรียมคลอดกับมารดาที่ไม่ได้รับการฝึกเตรียมคลอด. TJN, 40(3).

วีรวรรณ ภาษาประเทศ. (2541). ผลของการสนับสนุนจากสามีต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของหญิงครรภ์แรก. วิทยานินพธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลบิดามารดาและเด็ก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศิริลักษณ์ รัตนพันธุ์ และคณะ. (2541). ผลการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด. 25(2): 53-57.

สมศิริ นนทสวัสดิ์ศรี, เปรมวดี คฤหเดช, สมจิต ปทุมานนท์, และ จรรยา เสียงเสนาะ. (2544). วารสารเกื้อการุณย์, 8(1):63-72.

สุกัญญา ปริสัญญกุล และนันทพร แสนศิริพันธ์. (2553). การพยาบาลสตรีในระยะคลอด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.

สปุราณี อัทธเสรี, ศิริพร ฉัตรโพธิ์ทอง, และเยาวลักษณ เสรีเสถียร. (2533). ผลของการพยาบาลทางด้านจิตใจต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของสตรีมีครรภ์ในระยะคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอด. รายงานการวิจัย . กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาล สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุบลรัตน์ สุทธิวณิชศักดิ์. (2551). ผลของการใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดท่าในระยะที่ 1 ของการคลอดต่อความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ระยะเวลาของการคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของหญิงรอคลอดครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดา และทารกแรกเกิด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุสาห์ ศุภรพันธ์. (2545). การพยาบาลมารดาเพื่อลดความเจ็บปวดในระยะคลอด. ขอนแก่น: ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bobak, I.M. et al. (1995). Maternity Nusing. (4 th ed .). St Louis : Mosby.

Brownridge, P. (1995). The nature and consequences of childbirth pain. European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology, 59 (Suppl.), S9-S15.

Lowe, N.K. (2002). The nature of labor pain. American Journal of Obstetric and Gynecology, 186(Suppl.2), S16-S24. Melzack, R. (1984). The myth of painless childbirth. Pain, 19(4), 321-337.

Melzack, R. (1993). Labour pain as a model of acute pain. Pain, 53(2), 117-120.

Moore, K.L., &T.V.N. Persaud. (2003). The developing human: clinically oriented embryology. (7th ed.). Pennsylvania: Elsevier Science.

Novak, J.C., & Broom, B.L (1994). Maternal and child Health Nursing .(8th ed.). St Louis : Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30