การศึกษาลักษณะทางประชากรของมารดาที่มีการคลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • อารยา ยวงนาค โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การคลอดก่อนกำหนด, มารดา

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการคลอดก่อนกำหนดและเพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของมารดาที่มีการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ มารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลปราสาท ณ หน่วยงานห้องคลอด ระหว่างปีงบประมาณ 2556 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2556 ระยะเวลา 12 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการคลอด โดยผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ทะเบียนคลอด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่ามีอัตราการคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 10.90 ลักษณะทางประชากรที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด  ได้แก่  การศึกษา จำนวนครั้งการฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก โรคแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวเพิ่มที่ขึ้น จำนวนครั้งการคลอด และทารกตายในครรภ์ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ ประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ควรให้การดูแลมารดาครอบคลุมทุกด้านในทุกระยะของการตั้งครรภ์ รวมถึงการคัดกรองซักประวัติหญิงตั้งครรภ์ให้ครอบคลุมอย่างเป็นระบบ เพื่อการวางแผนครอบครัวสำหรับมารดาที่ต้องการมีบุตรคนต่อไป ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่องกิจกรรมการเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนดจากโรงพยาบาลและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในสตรีที่ตั้งครรภ์อายุน้อย และในสตรีที่ตั้งครรภ์อายุมาก และควรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันและลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด

References

กัลยา กิติมา. (2553). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีมีครรภ์ที่มีความเสี่ยง คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลลำพูน. วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถนิมนันท์ ปันล้อม. (2551). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีมีครรภ์ที่มีความเสี่ยง ณ คลินิกฝากครรภ์ ในอำเภอแม่สะเรียง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฏฐมณฑน์ โกศัย. (2553). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลสุโขทัย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระพงศ์ เจริญวิทย์. (2548). การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด. ใน ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ และกระเษียร ปัญญาคำเลิศ. (บรรณาธิการ), สูติศาสตร์ (เรียบเรียงครั้งที่4, หน้า317-327). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพงศ์ ภู่พงศ์. (2551). เวชศาสตร์มารดาทารกในครรภ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วรพงศ์ ภู่พงศ์. (2552). การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน เยื้อน ตันนิรันดร และวรพงศ์ ภู่พงศ์(บรรณาธิการ), เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (เรียบเรียงครั้งที่2, หน้า 42-60). กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

ประภัทร วานิชพงษ์พันธ์. (2552). สูตินรีเวชทันยุค OB-GYN in practice. กรุงเทพฯ. พีเอลีฟวิ่ง.

ประภัทร วานิชพงษ์พันธ์. (2554). สูตินรีเวชทันยุค OB-GYN in practice. กรุงเทพฯ. พีเอลีฟวิ่ง.

สายฝน ชวาลไพบูลย์. (2553). แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สายฝน ชวาลไพบูลย์ และสุนันท์ กนกพงศ์ศักศิ์. (2554). ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด. เวชบันทึกศิริราช, 4 (2), 25-39. เข้าถึงได้จาก http://203.157.186.111/ssh/file/1348365195.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30