การพยาบาลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • วนิดา แจ่มใส โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะช็อก, การตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะวิกฤติทางสูติศาสตร์และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของมารดาหลังคลอด การประเมินสาเหตุของการตกเลือดและอาการและอาการแสดงของการตกเลือด รวมทั้งการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะช่วยให้มารดาหลังคลอด     ไม่เสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุ การดำเนินการของภาวะตกเลือดหลังคลอด ผลกระทบต่อมารดาทารกการรักษาพยาบาลในรายกรณีและนำผลการศึกษามาใช้เป็นองค์ความรู้ในการดูแลรักษาพยาบาลในมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อไป

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเป็นรายกรณี ทำการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ถึง 30 ตุลาคม 2556

กรณีศึกษาและสถานที่ : คัดเลือกจากหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดแบบเจาะจง 1 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะตกเลือดหลังคลอด ที่เข้ารับการฝากครรภ์คลอดและพักรักษาตัวอยู่ในแผนกหลังคลอดในโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

ผลการศึกษา : มารดาหลังคลอดตั้งครรภ์ครบกำหนด ฝากครรภ์ 11 ครั้ง และครบเกณฑ์ 4 ครั้งคุณภาพได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก 2 เข็ม ผลเลือดปกติทั้งสามีและภรรยา ขณะตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด ความก้าวหน้าของการคลอดปกติ ระยะที่สองของการคลอดปกติ ทารกน้ำหนัก 3,080 กรัม หลังรกคลอด มี active bleeding total blood loss 500 ซีซี และมีภาวะช็อก ความดันโลหิต 90/50 มิลลิเมตรปรอท ได้รับการรักษาและแก้ไขภาวะช็อก โดยการให้ยากระตุ้น  การหดรัดตัวของมดลูก คลึงมดลูกและให้สารน้ำ และติดตามค่าความเข้มข้นของเลือด มารดาหลังคลอดได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น และกลับบ้าน

สรุป:    ปัญหาที่พบในมารดาหลังคลอดรายนี้ คือมีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด และได้รับการดูแลรักษาและการพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อแก้ไขภาวะช็อก และมารดาหลังคลอดปลอดภัยจากภาวะตกเลือดหลังคลอด การวางแผนการพยาบาลด้วยความรู้ความเข้าใจ สาเหตุ อาการ ในลักษณะเฉพาะของโรคและติดตาม สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทำให้สามารถแก้ไขภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอดได้อย่างทันท่วงที

References

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพ: องค์การทหารผ่านศึก

ชฎาภรณ์วัฒนวิไล. (2555). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินในระยะตั้งครรภ์และคลอด. กรุงเทพฯ : ซีจี ทูล.

วรพงศ์ ภู่พงศ์. (บรรณาธิการ). (2555). การดูแลปัญหาที่พบบ่อยทางสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย.

ศีตรา มยูขโชติ, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และศศิธร วิโสรัมย์. (2554). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะคลอดยากและสูติศาสตร์หัตถการ. สุรินทร์ : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

สุภาวดี เครือโชติกุล. (2555). การพยาบาลสูติศาสตร์ : ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2, ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย.

เอกชัย โคสาวิสารัตน์, ปัทมา พรหมสนธิ และบุญศรี จันทร์รัชกูล. (2555). วิกฤตทางสูติกรรมที่รุนแรง.กรุงเทพฯ: ทรี-แสกน.

Benedetti, T.J. (2002). Obstetric Hemorrhage. In S.G. Gabbe, J.R Niebyi, & J.L Simpson. (Eds.), Obstetrics. normal and problem pregnancies. (4th ed., pp. 503-538). New York : Churchill Livingstone.

Cunningham, F.G., Leveno, K.J., Bloom , S.L., Hauth, J.C., Gilstrap III, L., & Wenstrom, K.D. (Eds.). (2005). Willams Obstetrics. (22nd ed.). New York : McGraw-Hill.

Cunningham, F.G., Leveno, K.J., Bloom , S.L., Hauth, J.C., Rouse, D.J., Spong, C.Y. (Eds.). (2011). Willams Obstetrics. (23nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Perry, Shannon E. et al. (2010). Study guide maternal child nursing care. (4th ed). Marryland Heights, MO: Mosby/Elsevier.

Prendiville, W.J., Elbourne, D., McDonald, S. (2003). Active versusexpectant management in the third stage of labor (Cochrane Review). In The Cochrane Library, Issue 4. Chichester, UK : John Wiley & Sons.

World Health Oraganization. (2009). WHO guidelines for the management of postpartum hemorrhage and retained placenta. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-24