สาเหตุของการไม่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและความต้องการในการรับบริการฝากครรภ์
คำสำคัญ:
การฝากครรภ์, ความต้องการในการรับบริการฝากครรภ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการไม่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและความต้องการในการรับบริการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่การให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจนข้อมูลอิ่มตัวจำนวน 12 คน แนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านการตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา (Content validity) และภาษาที่ใช้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์มีสถานภาพสมรสคู่ อายุระหว่าง 17-38 ปี รายได้ครอบครัวอยู่ระหว่าง 1,500-10,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วางแผนไว้ว่าจะมีบุตรจำนวน 2-4 คน ประวัติการตั้งครรภ์สวนใหญ่เป็นครรภ์ที่ 3 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากเป็นสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน และสิทธิการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้
สาเหตุของการไม่มาฝากครรภ์ต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ สาเหตุจากปัจจัยของหญิงตั้งครรภ์เอง และ สาเหตุจากปัจจัยของสถานบริการสาธารณสุข ในส่วนของสาเหตุจากปัจจัยของหญิงตั้งครรภ์นั้นถึงแม้ว่าผู้ให้ข้อมูลจะระบุว่าเลือกฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชนเนื่องจากเป็นสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านแต่ร้อยละ 50 ระบุว่าประสบปัญหาในการไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชนคือปัญหาของการเดินทาง ซึ่งได้แก่ ไม่มีรถส่วนตัว ต้องรอรถโดยสารสาธารณะ และร้อยละ 15 ระบุว่าผู้มารับบริการเยอะ ต้องรอนาน นอกจากนั้นในส่วนของหญิงตั้งครรภ์เองนั้น มีประวัติทางด้านสุขภาพของตนเอง ที่พบทั้งภาวะผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนในครรภ์นี้หรือครรภ์ก่อน จึงทำให้ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชน เพราะมั่นใจในคุณภาพการบริการและการให้คำแนะนำ และการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของรพ.สต.เนื่องจากประวัติการตั้งครรภ์ในครรภ์ก่อนมีภาวะผิดปกติ/ภาวะแทรกซ้อน จึงแนะนำให้ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชน
ส่วนจากปัจจัยของการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลหรือ รพ.สต.นั้นพบว่ารพ.สต.ไม่มีการบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และจากระบบการดูแลที่ต่อเนื่องที่รพ.สต.ต้องส่งต่อโรงพยาบาลชุมชนในกรณีที่ภาวะผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนจึงเลือกไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชนเลย รวมทั้งรพ.สต.ไม่มีบริการในระยะการคลอด และเมื่อไปฝากครรภ์แล้วเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลชุมชนนัดต่อเนื่องจึงไปรับบริการที่โรงพยาบาลชุมชนตลอด
ในส่วนของความต้องการในการรับบริการฝากครรภ์นั้น กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ระยะเวลาในการรอรับบริการที่ไม่นาน มีให้บริการหากมีปัญหา-รวมถึงตรวจเลือด-ฟังเสียงหัวใจลูก และได้รับดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์-คลอด-และหลังคลอด ซึ่งความต้องการในการรับบริการฝากครรภ์ ที่กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลมาส่วนใหญ่คือ ต้องการระยะเวลาในการให้บริการที่เร็วขึ้น รอไม่นาน
References
ทัศนีย์ หลำเนียม. 2553. การศึกษาความชุกของการไม่มาฝากครรภ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มาฝากครรภ์ของมารดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์ขั้นสูง) บัณฑิตมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วาสนา ถิ่นขนอน และวิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2555). การพัฒนาแนวทางการให้บริการหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยครอบครัวมีส่วนร่วมในคลินิกฝากครรภ์ เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35 (2), 25-33.
เอื้อมพร ราชภูติ, จันทร์รัตน์ เจริญสันติ, และกรรณิการ์ กันธะรักษา. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลระนอง. พยาบาลสาร, 38 (3), 20-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น