ผลของการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาปัจจัยความเครียดในพนักงานศูนย์บริการสอบถามเลขหมายที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา (1133

ผู้แต่ง

  • ภัคจิรา โชคโคกกรวด สาขาการจัดเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความเครียด, ระบบผู้เชี่ยวชาญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ค้นหาปัจจัยความเครียดในพนักงานศูนย์บริการสอบถามเลขหมายจังหวัดนครราชสีมา และศึกษาความพึงพอใจในการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อค้นหาปัจจัยความเครียด กลุ่มเป้าหมายคือ พนักงานบริการสอบถามเลขหมายโทรศัพท์ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ศูนย์บริการสอบถามเลขหมายโทรศัพท์ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ ได้แก่ ภาษาวิชวลเบสิก 2010 (Visual Basic 2010) ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) และศึกษาปัจจัยความเครียดโดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง Suanprung Stress Test-60  รวมทั้งการใช้แบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจในการหาปัจจัยความเครียดโดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการศึกษา มีดังนี้ ระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ค้นหาปัจจัยความเครียดในพนักงานศูนย์บริการสอบถามหมายเลขที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา (1133) ประกอบด้วย 1) การทำงานของผู้ดูแลระบบ (Admin) และ 2) ส่วนของผู้ใช้งานระบบ (Again) และภายในระบบมี 2 ส่วนคือ ระบบแบบสอบถามและระบบช่วยตัดสินใจได้ผลลัพธ์ดังนี้ มีความเครียดเรื่องการเงิน ส่วนตัว ครอบครัว สังคม การงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งความเครียดเรื่องการเงินส่งผลกระทบต่อตัวพนักงานมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจในการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อค้นหาปัจจัยความเครียดนั้นพบว่าระบบมีความสะดวกในการใช้งาน ในการศึกษาทางด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D. =0.10 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านประสิทธิภาพมากที่สุด ( =4.70, S.D.=0.18) รองลงมา คือ ด้านความปลอดภัยของระบบ ( =4.67, S.D. = 0.06) และด้านการใช้งานของระบบ ( =4.65 , S.D. =0.25) สรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี 

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์, วัชรชัย วิระสุทธิวงศ์, อนุชิต, นิรภัย และอาทิตย์ บุญมีพิพิธ. (2555). การสร้างโปรแกรมซอฟแวร์สำหรับฐานความรู้ทางการแพทย์โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในอุ้งเชิงกราน. วารสารวิจัยศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 19 (2), 29-37.

ศุภสันห์ วรยศวรงค์. (2551). การประยุกต์ใช้อาร์เอฟไอดีกับงานครุภัณฑ์ กรณีศึกษาระบบสารสนเทศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เจษฎาคูงามมาก. (2555). ความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
โรงพยาบาลสวนปรุง. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลสวนปรุง.

Jacobo,V.H., Ortiz, A., Cerrud,Y.,& Schouwenaars, R. (2007). Hybrid expert system for the failure analysis of mechanical elements. Engineering Failure Analysis, 14 (8), 1435-1443.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-24