A การพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อป้องกันภาวะช็อกจากอุจจาระร่วงในผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พัฒนาแนวทาง, อุจจาระร่วง, ช็อกบทคัดย่อ
จากสถานการณ์อัตราการรับเข้ารักษาโรคอุจจาระร่วงในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ปี พ.ศ. 2556 อยู่ในลำดับที่ 1 และปี 2557 อยู่ในลำดับที่ 2 และพบว่ามีภาวะอุจจาระร่วงร่วมกับมีภาวะช็อก ปี พ.ศ. 2556 ร้อยละ 2.40 และเพิ่มขึ้นในปี 2557 เป็นร้อยละ 3.04 ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อป้องกันภาวะช็อกจากอุจจาระร่วงในผู้ป่วยสูงอายุและศึกษาผลลัพธ์ในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาด้วยโรคอุจจาระร่วงเพื่อป้องกันภาวะช็อก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research development study) โดยในขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสถานการณ์ต่างและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือแพทย์และพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยอายุรกรรมจำนวน 9 คน พร้อมทั้งศึกษาเวชระเบียนของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาโรคอุจจาระร่วงที่รพ.ลำปลายมาศ จำนวน 300 ชุด เพื่อค้นหาสถานการณ์และปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอุจจาระร่วง ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาแนวทางใหม่ในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะช็อกจากอุจจาระร่วงในผู้ป่วยสูงอายุ ในขั้นตอนที่ 3 เป็นการนำแนวทางการดูแลแบบใหม่ไปใช้ในระยะเวลา 10 เดือน พร้อมทั้งประเมินผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย และ Independent sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอุจจาระร่วงเพื่อป้องกันภาวะช็อกโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ที่ร่วมกันพัฒนาประกอบด้วยโดย 1) เฝ้าระวัง Septic shock ด้วยการประเมินด้วย SIRS 2) การจัดผู้ป่วยที่เป็น Immunocompromised ไว้ใกล้ Nurse Station 3) เพิ่มการเฝ้าระวังอาการโดยการตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 30 นาที และ 4) กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางปาก (Oral dehydration therapy-ORT) เมื่อนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติพบว่าผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาอุจจาระร่วงมีภาวะช็อกลดลง โดยจำนวนวันนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
สรุปการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอุจจาระร่วงเพื่อป้องกันภาวะช็อกโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์สามารถปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกมีความชัดเจนและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ
References
กรมควบคุมโรค. สำนักงานโรคทั่วไป. (2557).สำนักโรคติดต่อทั่วไป เตือน ประชาชนระวัง “โรคอุจจาระร่วง”ช่วงฤดูหนาว[online]. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558, สืบค้นจาก http://thaigcd.ddc.moph.go.th/informations/index/2?page=3
ธนาสนธิ์ ธรรมกุล. (2557).อันตรายอุจจาระร่วงบอกเหตุภาวะแทรกซ้อน.[online].สืบค้นเมื่อ 25พฤษภาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/600527
โรงพยาบาลปรางค์กู่. (2557).การป้องกันอุบัติการณ์การเสียชีวิตในผู้ป่วย Acute Diarrhea.[Online]. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558, สืบค้นจาก http://203.157.165.4/ssko_presents/file_presents/1330700009804-11-2411.doc
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. (2557).แนวทางการดูแลรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน.[online].สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558, สืบค้นจากwww.med.nu.ac.th/2008/nuh/FCKfile/id_2/activity/Acute%20diarrhea.pdf
สมชาติ โตรักษา. (2558). เอกสารประกอบการเรียนรู้R2R:การพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2558, สืบค้นจาก
http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefiles/Somchart.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.(2557).แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. [online]. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558, สืบค้นจาก http://bps.ops.moph.go.th/Plan10/condition/Plan4-10.html,
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส). (2557).สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในปัจจุบัน. [online]. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Content/7636
หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำปลายมาศ. (2557). สรุปรายงานการบริการผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน ปี 2556-2557.โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลลำปลายมาศ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น