ประสบการณ์การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
คำสำคัญ:
ประสบการณ์, การใช้ถุงยางอนามัย, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 25 ราย ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 3 เดือน ตั้งแต่ ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2561 และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยมีเหตุผลของการเลือกสวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ อยู่ 4 ประการ ดังนี้ (1) การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (2) การเพิ่มความมั่นใจในการเสพสุข (3) การมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า (4) การป้องกันการสัมผัสกับอุจจาระ และแบบที่ 2) การไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยมีเหตุผลของการเลือกที่จะไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ อยู่ 7 ประการ ดังนี้ (1) การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว (2) การทำให้ความสุขทางเพศลดลง (3) การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่คาดคิดมาก่อน (4) การตามใจคู่นอน (5) การขาดสติเพราะเมาสุรา (6) การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (7) การมีความเชื่อแบบผิดๆ ต่อการใช้ถุงยางอนามัย ข้อเสนอแนะคือบุคลากรทางสุขภาพต้องเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะการที่กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายได้รับคำปรึกษาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ทัศนคติต่อการดูแลตนเองและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
References
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุม. (2561). สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กีรติกานต์ กลัดสวัสดิ์, เกรียงไกร ยอดเรือน, สัญญา กิตติสุนทโรภาศ, สุดี จารุพันธ์, เฉวตสรร นามวาท และธนรักษ์ ผลิพัฒน์. (2553). ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พ.ศ. 2553. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2558). Thailand AIDS Response Progress Report 2015. สืบค้นจาก http://www.unaids.org/sites/default/files/country/documents /THA_narrativereport_2015.pdf
จิรภัทร หลงกุล และสุพรรณี พรหมเทศ. (2555). การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 29-38.
ธรีรัตน์ เชมนะสิริ. (2557). การศึกษาเชิงคุณภาพถึงสาเหตุที่เยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายไม่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ. นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2553). ขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์ในสังคมไทย ภาคปฏิบัติการและกระบวนทัศน์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพชรศรี ศิรินิรันดร์. (2556). รายงานผลการดำเนินงานสำนักโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
วนิดา ปาวรีย์. (2557). พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนวัดสีสุก เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท), 20(2), 148-157.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ จันทรมณี และสุปิยา จันทรมณี. (2559). ความชุกการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในประเทศไทยโดยวิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบวัน เวลา สถานที่ และการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบส่งต่อ. วารสารควบคุมโรค, 42(4), 269-279.
สำนักระบาดวิทยา. (2556). ภาพรวมสถานการณ์การระบาดของการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย พ.ศ. 2556. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th/files/report/20141128_31017647.pdf
อมรรัตน์ สุปินราช. (2551). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความตั้งใจในการถุงยางอนามัยของนิสิตชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Colaizzi, P.F. (1978). Psychological research as a phenomenologist views it. In: Valle, R.S. and King, M., Eds., Existential-Phenomenological Alternatives for Psychology (pp. 48-71). New York: Oxford University Press.
Frankis, J. S., & Paul, F. (2009). Public Sexual Cultures: A systematic review of qualitative research investigating men’s sexual behaviors with men in public spaces. Journal of Homosexuality, 56(7), 861 – 893.
NCHADS. (2014). Cambodian AIDS epidemic model: Impact modeling & analysis Cambodia case study. Ministry of Health: NCHADS, Phnom Penh, Cambodia.
Ruschman, K. (2010). Care of patients with inflammatory intestinal disorders. In Ignatavicius D. D . & Workman M. L. (Ed.), Medical-surgical nursing: patient-centered collaborative care. (6th ed., pp. 1315-1343). St.Louis, MO: SAUNDERS/ELSEVIER.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น